วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม


จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธพิสัย ค้านทักษะ พิสัย และด้านพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับ จากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสําเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขต การเรียนรู้ทั่งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนา หลักสูตรซึ่งจะทําให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ดังภาพประกอบ  
อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษา จึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทําให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธาน เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คืออนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้ ความเข้าใจการนําไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และ การประเมินค่า พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภท ความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สําหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ

ตารางที่ 1 อนุกรมภิธานทางปัญญาของบลูมระดับพฤติกรรม
ระดับพฤติกรรม
นิยาม
1. ความรู้
เกี่ยวข้องกับความจําและการระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคําต่างๆ สัญลักษณ์ วันที่ สถานที่ ฯลฯ กฎ แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯหลักการ ทฤษฎี วิธีการจัดความคิด
2. ความเข้าใจ

เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความย่อความ ขยายรายละเอียด ทํานายผล และผลที่ติดตามมา
3. การนําไปประยุกต์ใช้
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์การใช้หลักการและทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม
4. การวิเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยก องค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วน ความสัมพันธ์ของหลักการ
5. การสังเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระ องค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ จัดการผสมผสานส่วนย่อย ด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
6. การประเมินค่า
เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ พิจารณาในรูปของมา ภายในพิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก



ตารางที่ 2 อนุกรมภิธานทางเจตคติของบลูม
ระดับพฤติกรรม
นิยาม
1. การรับรู้
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจทางอ้อมที่มีต่อสิ่งกระตุ้น การรับรู้ข้อความจริง ความ ถูกต้อง เหตุการณ์หรือโอกาส ความตั้งใจในการสังเกต หรือความตั้งใจที่มีต่อ ภาระงาน เลือกสิ่งกระตุ้น
2. การตอบสนอง
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น การยินยอมตาม ทิศทาง การอาสาสมัครด้วยตนเอง ความพึงพอใจหรือความร่าเริง
3. ค่านิยม
การให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง แสดงออกถึงความเชื่ออย่างแข็งขันในบางสิ่งบางอย่าง แสดงออกถึงความชอบ มากกว่าในบางสิ่งบางอย่าง แสวงหากิจกรรมเพื่อบางสิ่งบางอย่างข้างหน้า
4. การจัดการ
เป็นการจัดคุณค่าให้มีระบบ เห็นคุณค่าที่ยึดถือมีความสัมพันธ์กับคุณค่าอื่นๆ ก่อตั้งคุณค่าที่มีลักษณะเด่น เป็นค่านิยมของตนเอง
5. คุณลักษณะ
เป็นการกระทําที่สอดคล้องกับระบบค่านิยมหรือคุณค่าภายใน การกระทําที่สอดคล้องในทิศทางที่มีความแน่ใจ การพัฒนาปรัชญาชีวิตที่มีความคงเส้นคงวาทั้งหมด

ตารางที่ 3 อนุกรมภิธานทางทักษะพิสัย
นิยาม
พฤติกรรมการเรียนรู้
การเคลื่อนไหวทั่วไป (Generic movement)
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการซึ่งให้ความสะดวกต่อการพัฒนา แบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์
1. การรับรู้
การจําท่าการเคลื่อนไหว รูปร่าง แบบและทักษะโดยอวัยวะรับความรู้สึก
2. เลียนแบบ
เลียนแบบ แบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะในเชิงของผลที่ได้จากการรับรู้
3. สร้างแบบ
จัดและใช้ส่วนของร่างกายในทิศทางที่ผสมกลมกลืน เพื่อให้ประสบความสําเร็จในแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
การเคลื่อนไหวตามปกติ(Ordinary movement)
การพบกับข้อกําหนดของภาระงานการเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการของ การจัดการการแสดงออกและการแก้ไขแบบการเคลื่อนไหวและทักษะ
1. การปรับตัว
ปรับแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะเพื่อให้พบกับภาระงานเฉพาะอย่างที่(adapting) ต้องการ
2. การแก้ไข
ความกระตือรือร้นที่จะเคลื่อนไหวอย่างราบเรียบ แบบการเคลื่อนไหว หรือ (refining) ทักษะที่แสดงออกมีประสิทธิภาพในเชิงแห่งผลของ กระบวนการปรับปรุง เช่น
1.       ขจัดการเคลื่อนไหวที่แทรกซ้อน
2.       รอบรู้ถึงความสัมพันธ์ของอวกาศกับจังหวะ
3.       การแสดงออกทางนิสัยภายใต้สภาวการณ์ที่ซับซ้อน
การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ (Creative movement)
กระบวนการในการประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยทักษะซึ่งจะสนองความมุ่งหมายของผู้เรียน

1. ความหลากหลาย
ประดิษฐ์หรือสร้างทางเลือกในการปฏิบัติแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ (Varying)
2. การดัดแปลงโดย
การเริ่มท่าการเคลื่อนไหว การริเริ่มผสมผสานท่าการเคลื่อนไหว ไม่ต้องเตรียมตัวm (improvising)
3. แต่งท่าการเคลื่อนไหว
สร้างสรรค์การออกแบบการเคลื่อนไหว หรือทักษะที่มีคุณค่า (composing)

จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องการว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการ พิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กัน ในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อเด็กได้รับ ความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมี ความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรม ผู้ปกครอง และสุดท้าย ทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเด็กเตาะแตะนั้น


ทฤษฎีการเรียนรู้คืออะไร
การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2)
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson and Horrock, 1959)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม เป็นอย่างไร
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (Comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด


Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ(Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying) การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956) มีลักษณะอย่างไร
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ  ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้  สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้  เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์
ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า
เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้

2.จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง  ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม  พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ... การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้

3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
 พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ  เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว  ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว  การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้  ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร
                 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ( Bloom 1976 ) ( อ้างจาก รศ.ดร.ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ , 2535 : 115 – 117 ) บลูมได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนไว้ดังนี้
                  - พื้นฐานของผู้เรียนเป็นหัวใจในการเรียน ผู้เรียนแต่ละคนจะเข้าชั้นเรียนด้วยพื้นฐานที่จะช่วยให้เขา ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ต่างกัน ถ้าเขามีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะไม่แตกต่างกัน
                  - คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น ความรู้ที่จำเป็นก่อนเรียน แรงจูงใจในการเรียน และคุณภาพของการสอน เป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ เพื่อให้แต่ละคนและทั้งกลุ่มมีระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...