การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept
Mapping)
การเขียนแผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) ให้มีความสมบูรณ์
จะต้องเรียนรู้หลักการพื้นฐานบางประการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความคิด
และองค์ความรู้ เรื่องที่จะต้องเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เรียนรู้วิธีคิดแบบต่างๆ (Know the ways of Thinking) หลักการคิดมีหลากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด เรื่องผู้ชนะ 10 คิดของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ซึ่งประกอบด้วย การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) โดยเรา สามารถนำเอาหลักการในการคิดแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ หรือมาเป็นฐานในการคิด (Thinking base) โดยเฉพาะ หลักการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) เพื่อความเข้าใจ ในการเชียนแผนที่มโนทัศน์ อาจจะแสดงภาพหลักการง่ายดังนี้ ในการประยุกต์ใช้แนวคิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อีกหลักการคิดแบบหนึ่งก็คือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ของท่าน Dr.Edward De Bono ซึ่งจะมาช่วยเสริมให้การเขียนแผนที่มโนทัศน์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก และในมิติของการคิดเชิงพุทธ เรื่องของโยนิโสมนสิการ เพื่อการคิดแบบแยบคาย และลุ่มลึกก็ควรจะมีส่วนช่วยให้ แผนที่มโนทัศน์ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีก แผนที่มโนทัศน์ เรื่องการประยุกต์ใช้ หลักการคิดแสดงได้ดังภาพ
2. ฝึกการมองภาพในสองมิติสลับไปสลับมา (Two Dimension view) มองเชิงกว้าง (Wide) มองเชิงลึก (Depth) การมองทั้งสองมิติจะช่วยให้เรามีทิศทางในการเขียนที่ชัดเจน หรืออาจจะเรียกได้ว่า เรามองภาพสุดท้ายก่อนจะเริ่มต้นเขียน (Begin With The End In Mind) ซึ่งมันจะช่วยกำกับกรอบในการคิดให้กับเราได้
3. การคิดด้วยช่วงชั้นของความคิด (Basic Ordering Ideas - BOIs) เรื่องของช่วงชั้นของความคิด เป็นหัวใจสำคัญของการเขียนภาพความคิด (Visualize Thinking ) ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแผนภูมิของเขตความคิด (MindScape) ซึ่งจะนำเสนอในอนาคต หรือ แผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) หลักการของช่วงชั้นความคิดประกอบด้วย 9 ก คือ แกน จะต้องหาแกนของความคิดให้ได้ก่อน เกี่ยว สร้างเส้นเชื่อมความคิดที่เกี่ยวข้องกันให้ได้ กลุ่ม จัดกลุ่มของความคิดโดยอาจจะเขียนเส้นขอบเขต (Boundary) กิ่ง แตกแขนงย่อยของรายละเอียดลึกลงไป กระจาย แนวคิดไปรอบๆ กระชับ ใช้คำที่กระชับเข้าใจง่ายๆ ก่อน - หลัง อะไรมาก่อนมาหลัง แยกจากทิศทางของหัวลูกศร กรอบ ใส่กรอบให้ความคิด หรืออาจจะหมายถึงยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งในการคิดหรือการเขียน กระโดด ระวังความคิดจะก้าวกระโดด ข้ามประเด็นสำคัญไป
4. ฝึกการคิดแบบ Hierachical Thinking หรือการคิดแบบช่วงชั้น ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การคิดแบบ Outline view หรือดเป็นโครงสร้างของความคิด จากบนลงล่าง ซึ่งในโปรแกรม CMaptools หรือโปรแกรม Inspiration สามารถสลับไปมาระหว่าง Concept Map View กับ Outline View ได้ แสดงตัวอย่างการคิดแบบช่วงชั้นดังภาพข้างล่าง
1. เรียนรู้วิธีคิดแบบต่างๆ (Know the ways of Thinking) หลักการคิดมีหลากหลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด เรื่องผู้ชนะ 10 คิดของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ซึ่งประกอบด้วย การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) โดยเรา สามารถนำเอาหลักการในการคิดแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ หรือมาเป็นฐานในการคิด (Thinking base) โดยเฉพาะ หลักการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) เพื่อความเข้าใจ ในการเชียนแผนที่มโนทัศน์ อาจจะแสดงภาพหลักการง่ายดังนี้ ในการประยุกต์ใช้แนวคิด ของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อีกหลักการคิดแบบหนึ่งก็คือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ของท่าน Dr.Edward De Bono ซึ่งจะมาช่วยเสริมให้การเขียนแผนที่มโนทัศน์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก และในมิติของการคิดเชิงพุทธ เรื่องของโยนิโสมนสิการ เพื่อการคิดแบบแยบคาย และลุ่มลึกก็ควรจะมีส่วนช่วยให้ แผนที่มโนทัศน์ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีก แผนที่มโนทัศน์ เรื่องการประยุกต์ใช้ หลักการคิดแสดงได้ดังภาพ
2. ฝึกการมองภาพในสองมิติสลับไปสลับมา (Two Dimension view) มองเชิงกว้าง (Wide) มองเชิงลึก (Depth) การมองทั้งสองมิติจะช่วยให้เรามีทิศทางในการเขียนที่ชัดเจน หรืออาจจะเรียกได้ว่า เรามองภาพสุดท้ายก่อนจะเริ่มต้นเขียน (Begin With The End In Mind) ซึ่งมันจะช่วยกำกับกรอบในการคิดให้กับเราได้
3. การคิดด้วยช่วงชั้นของความคิด (Basic Ordering Ideas - BOIs) เรื่องของช่วงชั้นของความคิด เป็นหัวใจสำคัญของการเขียนภาพความคิด (Visualize Thinking ) ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแผนภูมิของเขตความคิด (MindScape) ซึ่งจะนำเสนอในอนาคต หรือ แผนที่มโนทัศน์ (Concept Mapping) หลักการของช่วงชั้นความคิดประกอบด้วย 9 ก คือ แกน จะต้องหาแกนของความคิดให้ได้ก่อน เกี่ยว สร้างเส้นเชื่อมความคิดที่เกี่ยวข้องกันให้ได้ กลุ่ม จัดกลุ่มของความคิดโดยอาจจะเขียนเส้นขอบเขต (Boundary) กิ่ง แตกแขนงย่อยของรายละเอียดลึกลงไป กระจาย แนวคิดไปรอบๆ กระชับ ใช้คำที่กระชับเข้าใจง่ายๆ ก่อน - หลัง อะไรมาก่อนมาหลัง แยกจากทิศทางของหัวลูกศร กรอบ ใส่กรอบให้ความคิด หรืออาจจะหมายถึงยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งในการคิดหรือการเขียน กระโดด ระวังความคิดจะก้าวกระโดด ข้ามประเด็นสำคัญไป
4. ฝึกการคิดแบบ Hierachical Thinking หรือการคิดแบบช่วงชั้น ให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การคิดแบบ Outline view หรือดเป็นโครงสร้างของความคิด จากบนลงล่าง ซึ่งในโปรแกรม CMaptools หรือโปรแกรม Inspiration สามารถสลับไปมาระหว่าง Concept Map View กับ Outline View ได้ แสดงตัวอย่างการคิดแบบช่วงชั้นดังภาพข้างล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น