ตรวจสอบและทบทวน
สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 มาตรฐานด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ มาตราฐานที่6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน นำมากำหนดจุดหมายในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้
มาตรฐานความรู้
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน (จากเดิมมีเพียง 9 มาตรฐาน) โดยเพิ่ม 2 มาตรฐาน เพิ่มมาตรฐาน “ปรัชญาการศึกษา” , “คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ” และได้จัดให้มาตรฐาน “การจัดการเรียนรู้” และ “การบริหารจัดการในห้องเรียน” จากเดิมที่แยกเป็น 2 มาตรฐาน รวมไว้ด้วยกันเป็น 1 มาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงบางมาตรฐานเช่น เดิม มาตรฐานภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู ก็เปลี่ยนเป็น ภาษาและวัฒนธรรมแทน
มาตรฐานความรู้ ทั้ง 11 มาตรฐาน ประกอบด้วยความรู้ดังต่อไปนี้
1.ความเป็นครู
2.ปรัชญาการศึกษา ( เพิ่มเติม )
3.ภาษาและวัฒนธรรม (เดิม “ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู”)
4.จิตวิทยาสำหรับครู
5.การพัฒนาหลักสูตร
6.การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (รวมจาก 2 มาตรฐานเป็น 1 มาตรฐาน)
7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (เดิม “การวิจัยทางการศึกษา”)
8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
10.การประกันคุณภาพการศึกษา
11.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ( เพิ่มเติม )
มาตรฐานที่ 6
มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในห้องเรียน
สาระความรู้ : 1. ทฤษฏีและหลักการบริหารจัดการ
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา
3. การคิดอย่างเป็นระบบ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
5. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน
8. การประกันคุณภาพการศึกษา
9. การทำงานเป็นทีม
10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะ : 1. มีภาวะผู้นำ
2. สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
3. สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
4. สามารถในการประสานประโยชน์
5. สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
กิจกรรม “แสงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้ง”
ความคาดหวัง
1.เข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนได้สืบเสาะและค้นพบความรู้วิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง
2.ความสัมพันธ์กันระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมและสิ่งแวดล้อม บุคคลผู้รู้วิทยาศาสตร์เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3.เข้าใจและสามารถนำเอาแนวคิด หลักการ กฎ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้
4.สามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถใช้เพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำความเข้าใจในสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
2.1เพื่อทำการทดลองว่าแสงมีประโยชน์ต่อผักบุ้ง
2.2 เพื่อที่จะให้รู้ถึงประโยชน์และคุณค่าของพลังงานแสงอาทิตย์
2.3 เพื่อนำมาปรับปรุงในการทำการเกษตร
ขอบเขตของการศึกษา
ตัวแปรต้น คือ ปริมาณแสงแดด
ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของผักบุ้ง
ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ำ ปริมาณดิน ปริมาณปุ๋ย เมล็ดพันธ์
สมมติฐานของการทดลอง
ต้นที่ 1 ที่ให้ได้รับแสงเเดดเต็มที่มีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นอื่น
ต้นที่ 2 ที่ให้ได้รับแสงไม่มากมีการเจริญเติบโตดีพอสมควร
ต้นที่ 3 ที่ไม่ให้ได้รับแสงมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าต้นที่ 1,2
มีประโยชน์ต่อผู้ทำการเกษตรต่างๆได้นำความรู้นี้ไปใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น