ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ขั้น
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ
มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกล่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร
และสามารถทำอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบบความรู้ในรูปของสารสนเทศ
และข้อความที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหา ความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2
เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และ จิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2
เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ ท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1
เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2
เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1
เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2
เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1
เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1
เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายใน ระบบสุริยะ แลผล ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ จิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2
เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ใน การสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบ ที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือ ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ สิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
มดเป็นแมลงที่พบในระบบนิเวศบกต่างๆ
โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อน มีการคาดคะเนว่าในโลกนี้มีมดอยู่ประมาณ 10,000 ชนิด
แต่ที่พบแล้วมีประมาณ 8,800 ชนิด สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีมดประมาณ 800 – 1,000
ชนิด ที่รู้จักกันมีไม่กี่ชนิด เช่น มดคันไฟ มดแดง มดดำ มดตะนอย ฯลฯ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมดที่พบในบ้าน ที่เหลือเป็นมดอยู่ในป่าต่างๆ
เนื่องจากมดเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบอย่างเป็นระบบบางชนิดมีรังมหึมา
ซึ่งมีมดอยู่ร่วมกันถึง 22 ล้านตัว
อยู่กันอย่างเป็นระเบียบไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งหรือเกี่ยงงานกัน
จึงเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างมาก ว่ามดจัดระบบประชากรให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์จึงสนใจที่จะศึกษาการดำรงชีวิตของมด เช่น มดสื่อสารกันได้อย่างไร
จากการศึกษาพบว่ามดสื่อสารกันโดยใช้อวัยวะที่เรียกว่าหนวดสัมผัสกันและใช้สารเคมีที่ปล่อยออกมา
นักวิทยาศาสตร์บางท่านยังเชื่อว่ามดบางชนิดสามารถใช้เสียงสื่อสารกันได้ด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่ามดบางชนิดเมื่อไปพบแหล่งอาหารก็จะปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจากต่อมภายนอก
(Exocrine
gland) ที่เรียกว่าต่อมดูเฟอร์ (Dufoue's gland) สารเคมีชนิดนี้เรียกว่าฟีโรโมน มดจะปล่อยฟีโรโมนขณะเดินไปพบอาหาร และยังพบอีกว่า
ฟีโรโมนนี้จะระเหยได้ทำให้ปริมาณของฟีโรโมนจะจางลงไปเรื่อยๆ
ฟีโรโมนของมดบางชนิดจะจางหายไปในเวลาไม่เกิด 100
วินาทีซึ่งการระเหยของสารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อการสื่อสารของมด
กล่าวคือถ้าแหล่งอาหารเก่าหมด เจอแหล่งอาหารใหม่ มดจะสามารถติดตามกลิ่นใหม่ไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง
ไม่สับสนกับกลิ่นเดิม
นอกจากนี้ยังพบว่ามดชอบเดินตามรอยฟีโรโมนที่มีกลิ่นแรงมากกว่ากลิ่นที่จาง
กำหนดจุดประสงค์ในสาระวิทยาศาสตร์
1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขตและข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้เกิดทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะในการสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้นำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
กิจกรรม “สำรวจโลกมดและพฤติกรรมของมด”
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถไขความข้อสงสัยว่าทำไมมดจึงทำงานเป็นทีมได้
2. ได้รับรู้ได้ว่ามดใช้อะไรในการสื่อสารขณะทำงาน
3. ทำให้สามารถนำกระบวนการทำงานของมดแบบเป็นทีม มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
การทดลอง
-ตัวแปรต้น
มดและหน้าที่ของมดตัวผู้ ตัวเมีย
-ตัวแปรตาม
เห็นกระบวนการทำงาน การสื่อสารระหว่างการทำงานของมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น