ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ขั้น
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the
STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน
โดยกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
การออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล
UDL คือ
การทบทวนแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ความหลากหลายของเด็กนำหน้า
และสนับสนุนการออกแบบหลักสูตรต่าง ๆ
ที่มีความยืดหยุ่นและมีความสะดวกมากขึ้นต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็ก (Rose
& Meyer, 2002) แนวคิด UDL ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากลทางด้านสถาปัตยกรรม
เป็นความพยายามในการออกแบบโครงสร้าง โดยคำนึงถึงผู้มีศักยภาพที่จะใช้ทั้งหมด
มาผสมผสานกันเข้า ได้เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ทางลาด และลิฟต์ ขึ้นมาเป็นจุดตั้งต้น (Connell
และคณะ, 1997) ลักษณะเฉพาะต่างๆ
ที่ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้นี้
อาจนำมาผสมผสานกันได้อย่างสวยงามและราคาไม่แพงในการทำงานระดับออกแบบ
ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากการหาทางเข้าถึงผู้ที่มีความพิการ/บกพร่องแต่ละรายแล้ว
ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่
อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน จึงทำให้มีการนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย (Rose
& Meyer, 2002) UDL เอง
ก็ใช้กลวิธีเดียวกันนี้กับการจัดทำหลักสูตร
โดยการพิจารณาความต้องการของเด็กโดยรวมในชั้นตอนของการออกแบบ
และสร้างลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่เอื้อต่อการเข้าถึงได้ครบถ้วน นอกจากนี้ UDL ยังขยายแนวความคิดของการออกแบบเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล
โดยนำลักษณะเฉพาะต่างๆ มาผสมผสานให้เกิดเป็นความสามารถสูงสุด
ทั้งในการเข้าถึงข้อมูล และการเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ (Rose &
Meyer, 2002) เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญใน UDL ความยืดหยุ่นได้ของ UDL ทำให้สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและมีความสง่างามได้
หลักการทั้งสามของ UDL
นำไปสู่การออกแบบหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น
ซึ่งต้องอาศัยทางเลือกต่าง ๆ ที่แฝงอยู่
มาช่วยสนับสนุนความแตกต่างในเครือข่ายการรับรู้ เครือข่ายกลวิธี และเครือข่ายทางอารมณ์ความรู้สึก
-เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้ได้ผล
จะต้องจัดเตรียมวิธีการนำเสนอที่มีความยืดหยุ่น เพื่อดึงความสนใจเด็กไว้หลาย ๆ แบบ
-เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในกลวิธีต่างๆ
จะต้องจัดเตรียมวิธีการฝึกแสดงความรู้สึกออกมา และโอกาสที่จะได้ฝึกฝน
ที่มีความยืดหยุ่นไว้ หลาย ๆ แบบ
-เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่ได้ผล
จะต้องจัดเตรียมทางเลือกที่ยืดหยุ่น หลายๆ ทาง เพื่อเป็นข้อตกลง (Rose
& Meyer, 2002)
เมื่อนำหลักการ 3 ประการดังกล่าวมาใช้
จะทำให้องค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร คือ เป้าหมาย วิธีการ อุปกรณ์ และการประเมินผล
เกิดความยืดหยุ่นขึ้นมาได้ เช่นในการประเมินผล
จะมีการใช้สื่อหลายประเภทในรูปแบบต่างๆ และมีทางเลือกต่างๆ ในการตอบสนอง
เพื่อที่เด็กจะได้ไม่มีความสับสนระหว่างความรู้กับทักษะ ที่เกิดจากความสามารถในการเรียนรู้สื่อของตน
(Rose
& Dolan, 2000) นอกจากนี้ ในระหว่างการทดสอบ เด็ก ๆ
จะมีโอกาสเข้าถึงความช่วย เหลือในแบบเดียวกันกับที่เคยได้รับจากการเรียนการสอน
นอกเสียจากความช่วยเหลือนั้น จะทำให้มีผลเสียกับวัตถุประสงค์ในการประเมินผล (Dolan
& Hall, 2001; Rose & Meyer, 2002)
แต่โดยหลักการแล้ว การวัดผลแบบอิงหลักสูตร จะใช้กับการประเมินผลที่มีความต่อเนื่อง
เพื่อหาช่องทางไปสู่วิธีการเรียนรู้และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Rose
& Dolan, 2000)
“กิจกรรมร่วมใจกัน...อนุรักษ์ทรัพยากร”
จัดชั้นเรียนให้น่าเรียนและสอดคล้องกับบทเรียน
มีความดึงดูดความสนใจของผู้เรียน โดยมีการให้ประดิษฐ์ชิ้นงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและวิทยาศาสตร์
โดยการใช้ความคิดรวบยอด
ชิ้นงาน/ภาระงาน
(รวบยอด)
การออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
กลุ่มละ 1 ชิ้น แล้วบันทึกข้อมูล
{วัสดุที่ใช้ 1
2
3
4
5
6
{วิธีทำ
|
{สิ่งประดิษฐ์นี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ดังนี้
...................................................................
..................................................................
{สิ่งประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าคือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น