อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
นิรมล ตีรณสาร
สวัสดิบุตร (2548 : 7 - 8) ได้กล่าวไว้ว่า
หนังสือ อัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง
ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจําเป็นต้องรู้ เพราะ
ทํางานกับคน เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สารท
สุทธเสถียร) พิมพ์ เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญ
ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตํารา
ควรอ่านแล้วปรับปรุงตํารา ให้ ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จําเป็นสําหรับครูจริงๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่ตําราอัธยาตมวิทยานี้แสดงตัวอย่างไว้
หนังสือ อัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ
ซึ่งเน้นว่า ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ นักเรียนให้ละเอียด เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
2 ลักษณะทั้งสามของจิตใจ
(ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ ของจิตใจไว้3
ชั้น คือ อายุ 17 ปี 7-14 ปี และ 14 - 21 ปี
ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง
และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
4. ความพิจารณา
มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ กับเด็กบ้านนอกมีความ
พิจารณาต่างกันอย่างไร และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร
นอกจากนี้ยังมี ข้อแนะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์
ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
5. ความเจริญของอาการทั้งห้า
(รู้สึก เห็น ฟัง ชิม คม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด อาการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป
หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน) หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส
หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง หัดอาการคมและ อาการชิม
6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท
และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร
อ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา
สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
7. ความคิดคํานึง
วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด
คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง
ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ
ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึ่งได้
8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2
อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง
บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือ และวาดรูป
บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลข
การเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์
มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบ คือ แบบ “คิดค้น” (induction) และแบบ “คิดสอบ”
(deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา
ต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิคสอบ
และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 11 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน
ซึ่งเป็นการ คิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า
วิธีสําเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธี อื่น ๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง
คําจํากัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดี
ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน
คือ เรียนรู้หลักวิชา จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์
สารท สุทธเสถียร), ขุน (2548) นนทบุรี : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น