ความสําคัญของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
UDL มีความสําคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการเรียนการสอน ที่ประกอบไปด้วย จุดหมาย
(goal) วิธีการ (method) วัสดุอุปกรณ์
(materials) และการประเมินผลการเรียนรู้ (assessment)
สําหรับผู้เรียนทุกคน
วิธีการใดวิธการหนึ่งเพียงวิธีเดียวจะไม่เหมาะสมกับทุกการแก้ปัญหา
แต่จะเป็นการออกแบบที่มีวิธีการที่มี ความยืดหยุ่น
สามารถปรับแต่งได้และปรับตามความต้องการของบุคคล แต่ละบุคคลต่างมีความหลากหลาย
ของทักษะ
ความต้องการและความสนใจที่จะเรียนรู้
ทางด้านประสาทวิทยากล่าวได้ว่าคล้ายกับระบบการ ทํางานของสมอง 3 ส่วน ดังนี้ 1) เครือข่ายการรับรู้
(Recognition Networks) วิธีการที่เรารวบรวมข้อเท็จจริง
และจัดประเภทของสิ่งที่เรามองเห็นได้ยินและอ่าน
ตัวอักษรระบุคําหรือลักษณะของผู้เขียนเป็นภาระงานที่ เป็นการรับรู้สิ่งที่จะเรียน
(อะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้: The "what" of learning ) 2) เครือข่ายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Networks) การวางแผนและการปฏิบัติงาน
วิธีการที่เราจัดระเบียบและแสดงหลักฐานทางความคิด ของเรา
การเขียนเรียงความหรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างถือเป็นงานเชิงกลยุทธ์ ("วิธีการ" ของการ เรียนรู้: The
"how" of learning) และ 3) เครือข่าย
(Affective Networks) จะมีวิธีเรียนรู้อย่างไรที่จะกระตุ้นและ
สร้างแรงบันดาลใจ เป็นสิ่งที่ท้าทายและเร้าความสนใจของผู้เรียน เป็นมิติอารมณ์ ("ทําไม" ของการเรียนรู้ :The
"why" of learning)
การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ซึ่งถือว่าเป็น อีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นคำที่ประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ คือ “การออกแบบ” และ “การเรียนการสอน”
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบในเรื่องอื่น ๆ และงานของนักออกแบบการเรียนการสอน
ว่าเป็นอย่างไร จึงขอกล่าวถึงในรายละเอียดของคำทั้งสองดังนี้
การออกแบบ
การออกแบบ (design) เป็นคำที่มีการใช้ในศาสตร์สาขาต่าง
ๆ เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบมัณฑนศิลป์การออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น
คำว่า “การออกแบบ” หมายถึงการแก้ปัญหา
อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือสร้างบางสิ่ง บางอย่าง
หรือมี จุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่ การแก้ปัญหาทั่วไป
ดังนั้นเมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการเรียนการสอน การออกแบบการเรียน
การสอนจึงแตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไปตรงที่การออกแบบการเรียน
การสอนมี จุดมุ่งหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง
มุ่งเน้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน
การออกแบบโดยทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล
ทั้งสาม ส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการ
เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งผลการเรียนรู้ของนักเรียน
ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความแน่นอนระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ
สิ่งที่นักออกแบบต้องคำนึงถึงคือ ด้านประสิทธิผล หรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการ
ประสิทธิภาพ คือ
การประหยัดในด้านของเวลาและการใช้ทรัพยากรและความพึงพอใจที่มีต่อผลงาน
นอกจากนี้การ
ออกแบบยังเป็นงานที่ต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์และความรู้เกี่ยวกับสิ่ง
ที่ต้องการออกแบบ ดังนั้น ผลงานของการออกแบบแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน
ใช้แนวคิดและหลักการอย่างเดียวกัน ผลงาน
การออกแบบก็อาจจะแตกต่างกันได้จากการรวบรวมข้อสังเกตในการออกแบบในงานต่าง ๆ
จำนวนมากรวมถึงงานการออกแบบการเรียนการสอน โดยโรว์แลนด์(Rowland, 1993 cited in Smith & Ragan, 1999, pp. 4-5) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการออกแบบไว้ดังนี้
1)
การออกแบบเป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2)
สิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์
3)
งานพื้นฐานในการออกแบบคือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่สารสนเทศ
ในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา
แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็นต้องผ่าน การออกแบบ
6)
ในการออกแบบนั้นกระบวนการแก้ปัญหาเป็นได้ทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็นลำดับขั้น
หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบเป็นศาสตร์หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบต้องอาศัยทักษะทางเทคนิค
ความคิดสร้างสรรค์ความเป็นเหตุผลและใช้ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบเป็นกระบวนการพัฒนา
การเรียนการสอน
ปริศนา แขมมณี(2555, หน้า 2-6)
ได้วิเคราะห์วิวัฒนาการของการสอนไว้อย่างชัดเจนโดย กล่าวว่า
การสอนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะช่วยเหลือกันและกันในการ
เรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ในยุคแรก ๆ
การสอนมีลักษณะของการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ
ทักษะและเจตคติในยุคนั้นเชื่อว่าความสามารถที่สอนผู้อื่นได้เป็นความสามารถ
พิเศษเฉพาะที่บางคนมีเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ไม่สามารถฝึกฝนกันได้การสอนในช่วงนี้จึงมีลักษณะ
เป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์คำศัพท์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ “การครอบงำ”
(indoctrination) ใช้ในความหมายที่เป็นการใช้อิทธิพลในการดำเนินการโดย
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนละทิ้งความคิด ความเชื่อเดิม “การปลูกฝัง”
(inculcation) ใช้ในความหมายที่เป็นการพร่ำสอนความคิดความเชื่อด้วย
วิธีการชักจูง โน้มน้าวให้ผู้เรียนคล้อยตาม “การสอน”
(teaching) เป็นการดำเนินการสอนในลักษณะที่เป็นทางการในเรื่องอื่น ๆ
นอกเหนือจาก ลัทธิความเชื่อ เช่นในเรื่องของอาชีพ การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้
ความคิด ความเชื่อ ทักษะและ เจตคติโดยเน้นหนักที่บทบาทของผู้สอน
และความสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน หรือ “ครูกับศิษย์”
การถ่ายทอดโดยครู เรียกว่าเป็น “การสั่งสอน”
หรือ “การสอน” ต่อมาเมื่อวิทยาการทางการศึกษาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
การสอนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นศาสตร์ มากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยซึ่งชี้ว่า
การจัดการเรียนการสอนที่มีการวางแผนและมีการใช้หลักการ ทางการศึกษาต่าง ๆ
อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในยุคนี้ จึงนิยมใช้คำว่า
“การเรียนการสอน” (instruction) ดัง
นั้น การเรียนการสอนจึงหมายถึงการจัดเตรียม
เงื่อนไขการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามที่
กำหนดไว้อย่างตั้งใจเพื่อทำให้
ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งตามที่ต้องการ นอกจากนี้คำว่า “การสอน” และ “การเรียน การสอน”
ก็เป็นคำที่มักใช้แทนกัน (Smith & Ragan, 1999,
p. 3) ในยุคที่การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นี้ยังมีคำศัพท์อื่น ๆ
ที่ใช้สื่อความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า “การสอน” แต่ต่างกันในรายละเอียด ซึ่งทิศนา แขมมณี(2555, หน้า
7-11) ได้แจกแจงไว้อย่าง ชัดเจน สรุปได้ดังนี้ การศึกษา (education) เป็นคำที่ใช้ในวงกว้าง หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง
ส่วนใหญ่มิได้มีการวางแผน เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ การฝึกอบรม (training)
หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีโครงสร้างเฉพาะเพื่อพัฒนา
ทักษะเฉพาะซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีเช่น การฝึกอบรมทักษะวิชาชีพต่าง ๆ
การติวหรือกวดวิชา (tutoring) หมายถึง
การสอนซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
ในจุดที่เป็นปัญหาหรือเป็นความต้องการของผู้เรียน
ซึ่งมักเป็นการสอนแบบกลุ่มเล็กหรือตัวต่อตัวเพื่อให้ ได้ผลต่อผู้เรียนสูงสุด
การชี้แนะ (coaching) หมายถึง การสอนเป็นรายบุคคลโดยผู้สอนท
าหน้าที่สาธิตและกำกับ การปฏิบัติของผู้เรียน
ให้คำชี้แนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียนจนผู้เรียนประสบความสำเร็จ
มักนิยมใช้ในวงการที่เน้นลักษณะงานที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น วงการกีฬา
เป็นต้น การนิเทศ (supervising) ใช้ในความหมายเดียวกับการชี้แนะ
มักนิยมใช้ในวงวิชาชีพ เช่น
ในวงการศึกษามีศึกษานิเทศก์ทำหน้าที่ในการนิเทศการศึกษา
ในวงการธุรกิจมีบุคลทำหน้าที่นิเทศ การปฏิบัติงาน เป็นต้น
การสอนทางไกล (distance learning) เป็นการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่
เดียวกัน
ผู้เรียนจำนวนมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดสามารถจะเรียนรู้จากครูผู้สอนคนเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน
โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น
โทรทัศน์วีดีทัศน์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การสอนแบบไม่มีครู(instruction
without teacher) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป
(programmed instruction) ที่มีผู้จัดทำ
ไว้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
โปรแกรมสำเร็จรูปนี้มีทั้งที่อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ตำรา เอกสารหรือแผ่นดิสก์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” (computer-assisted
instruction หรือ CAI)ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้
จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต การสร้างความรู้โดยผู้เรียน (construction) เป็น การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ซึ่งมี พื้นฐานจากแนวคิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนบทบาทของครูจากผู้ดำเนินการเรียนการ
สอนมาเป็นผู้อำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน
และเน้นบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (acting on) เพื่อสร้าง
ความรู้ความเข้าใจประสบการณ์เหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ
ในสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ได้ประสบ
ด้วยกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่การรับเข้ามา (taking in)
จากการที่ครูเป็น ผู้ถ่ายทอด
คำศัพท์ที่ใช้กับการสอนที่มีอยู่อย่างหลากหลายดังกล่าวข้างต้น
สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของ
บทบาทของครูในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนจากผู้ที่มีบทบาทเด่นและ
เป็นฝ่ายกระทำเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มาเป็นผู้เรียนมีบทบาทเด่นและเป็นฝ่ายลงมือกระทำเองเพื่อ
สร้างความรู้ ซึ่งตรงกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542
(แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) ซึ่งกล่าวถึงแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22
ไว้ดังนี้ “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตาม
ธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การสอนจึงเป็นกระบวนการที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
โดยการดำเนินการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างมีการวางแผนหรือตั้งใจให้
เกิดขึ้นมิใช่การเกิดขึ้นตามยถากรรม
ส่วนการเรียนการสอนอาจมีครูหรือไม่มีครูก็ได้สมิทและราแกน (Smith &
Ragan, 1999, p. 3)
ได้แสดงภาพความสัมพันธ์ของคำที่มีการใช้มากที่สุดคือคำว่าการศึกษา (education)
การเรียนการสอน (instruction) การฝึกอบรม (training)
และการสอน (teaching) ดัง ภาพที่ 1.1 ภาพที่
1.1 ความสัมพันธ์ของคำที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ที่มา: Smith &
Ragan, 1999, p. 3 จากภาพที่ 1.1
จะเห็นว่าการศึกษาเป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด ทั้งการสอนและการเรียน
การสอนก็เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่อยู่ในการศึกษาด้วย
ซึ่งคำว่าการสอนและการเรียนการสอน มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน
แต่การสอนเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดโดยผู้สอนเท่านั้นไม่สามารถจัดได้
ด้วยสื่ออื่น ๆ เช่น วีดีทัศน์โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือสื่ออื่น ๆ
โดยไม่มีผู้สอนร่วมด้วย ซึ่งแตกต่างจาก
การเรียนการสอนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้สอนก็ได้ส่วนคำว่าการฝึกอบรมนั้นเป็น
การจัดการเรียนการสอน ที่มีจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงในการฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งหรือประสบการณ์ใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่งและ ต้องมีผู้สอนร่วมด้วย
จะเห็นว่าการออกแบบและการเรียนการสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผ่านการ พัฒนาการมา
อย่างต่อเนื่อง ตามพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าของสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น