วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

โครงสร้าง - แผนการจัดการเรียนการสอน

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (Basic  Lesson  Plans)

โครงสร้าง – แผนการจัดการเรียนการสอน
รายวิชา   การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน      สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
คณะครุศาสตร์                                                                                              มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง........................................                                                                                      เวลา 4 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
              การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ The STDUIES  Model
วัตถุประสงค์
              เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในประเด็นต่อไปนี้
                        1) กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals)
                        2) วิเคราะห์ภาระงาน (Task analysis)
                        3) การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal design for instruction)
                        4) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital learning)
                        5) การบูรณาการความรู้ (Integrated knowledge)
                        6) กรประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (: Evaluation) และ
                        7) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (Standard)
เนื้อหา
              สาระความรู้ ในแต่บทเรียน (บทที่ 1-8)

กิจกรรมการเรียนการสอน
              ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (15 30 นาที)
              1. ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ The STUDIES Mode เริ่มจากทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบานการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่เป็นประธานเลขานุการและสมาชิก
              ขั้นสอน (45-60 นาที)
              2. นักศึกษาจับคู่และร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ โดยนำสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อ
                     2.1 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (S : Setting learning goals) และ
                     2.2 วิเคราะห์ภาระงาน (T : Task analysis)
                     นักศึกษาจะต้องระบุจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้ในส่วนที่เป็นสาระความรู้ Declarative knowledge หรือ What student will understand และส่วนที่เป็นทักษะ Procedural knowledge หรือ What student will be able to do
              3. นักศึกษาจับคู่ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับ
                     3.1 ออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (U : Universal design for instruction) กำหนดผลิตภัณฑ์ (เอกสาร หนังสือ หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ) ที่เป็นสาระการเรียนรู้และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                     3.2 จัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital learning) ที่เรียนรู้ได้จาก Mobile learning
                     3.3 จัดการเรียนการสอนเพื่อการบูรณาการความรู้ (Integrated knowledge)
              4. นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การจัดการเรียน ในประเด็น
                     4.1 การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (: Evaluation to improve teaching) และ
                     4.2 การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (Standard based Assessment)
              ขั้นสรุป (15 - 30 นาที)
              5. นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม (ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
              1. เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
              2. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน : The STUDIES Model

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
              1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
              2. ตรวจตำตอบตามประเด็นคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...