วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 2 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting Learning Goals)


บทที่ 2
กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting Learning Goals)

การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

ระดับจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่ใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
                ระดับ 1 จุดประสงค์ทั่วไป 
               เป็นจุดประสงค์ที่กำหนดความต้องการที่จะให้ผู้เรียนได้รับผลจากการศึกษาไว้กว้างๆ โดย    ไม่ระบุพฤติกรรม จุดมุ่งหมายระดับนี้วัดได้ยาก  สังเกตได้ยาก แต่จะต้องครอบคลุมพฤติกรรมย่อยต่างๆ ไว้ทั้งหมดเท่าที่ต้องการ
              ระดับ 2 จุดประสงค์เฉพาะวิชาหรือกลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์
              จุดประสงค์เฉพาะวิชาหรือกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ เป็นจุดประสงค์ที่แยกย่อยมาจาก จุดประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร โดยจะมีลักษณะที่มีความจำเพาะเจาะจงและอยู่ภายในขอบเขตของกลุ่มวิชา หรือมวลประสบการณ์เฉพาะกลุ่มนั้น ตัวอย่าง
                ระดับ 3 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือจุดประสงค์การเรียนรู้
                เป็นจุดประสงค์ที่แยกย่อยมาจากจุดประสงค์เฉพาะวิชา ที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจงในขอบเขตเนื้อหาสาระเฉพาะอย่าง โดยอาจจะระบุว่าเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องหรือแต่ละบทเรียนแล้ว ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นอย่างไรหรือต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในสิ่งใดบ้าง โดยมักจะเขียนในรูปของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...