การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The SOLO
taxonomy
The SOLO
taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆ
กันของคําถามและคําตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน
เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็น ผลงานของ Biggs and Collis
(1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning
Outcome, 19 ระบบที่นํามาช่วยอธิบายว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีควา
หลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร
ในสภาพที่พึงประสงค์ของการ ปฏิบัติ
เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
SOLO
Taxonomy คือ การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ SOLO
Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้
สิ่งที่สําคัญประการหนึ่งคือ
ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น
SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดย Biggs และ
Collis
The SOLO
taxonomy เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs
and Colis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed
Learning Outcome, เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบาย ว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร
ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงาน ทางวิชาการ
โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการ
เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ SOLO
taxonomy จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจาก
หลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวถูกนําไปกําหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัย
และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนําไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา
การประเมิน
ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน
ซึ่ง ความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้าง
เดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural)
(4) ระดับความสัมพันธ์ของ โครงสร้าง (Relational Level) และ(5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended
Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Biggs
และ Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้ 1)
กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน (To
set learning objectives appropriate to where a student should be at a
particular stage of their program) และ2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
(To assess the learning outcomes attained by each student) เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่า
คํากริยาที่นํามาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับ ดังนี้
·
ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural)
นักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วน ๆ ที่ไม่ ปะติดปะต่อกัน
ไม่มีการจัดการข้อมูล และความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
·
ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural)
ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่
แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
·
ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural)
ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชนิดเข้า ด้วยกัน
ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
·
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational
Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความ เกี่ยวโยงของข้อมูลได้
ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
·
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
(Extended
Abstract Level) ผู้เรียน
เชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ
ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสําคัญ และแนวคิดที่ ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คําถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
ประเด็นสําคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy
การปรับใช้
SOLO
Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้
ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
ในการสอนครผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร
ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะ ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสําคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
ตามความสามารถ (แทน “สิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี /
ไม่ดี) และการสร้าง แรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนําไปสู่การเรียนรู้ที่ดี
การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
• ทําให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้
(Learning) ผลผลิต
(Outcomes)
• การทดสอบสมรรถนะ » ILO's »
การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นํามาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตร
และรายวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด
SOLO
Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
SOLO 4: การพูดอภิปราย
สร้างทฤษฎี ทํานายหรือพยากรณ์
SOLO 3: อธิบาย
วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
SOLO 2: บรรยาย รวมกัน
จัดลําดับ
SOLO 1 : ท่องจํา ระบุ
คํานวณ
บทบาทของการสอบ
“การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน”
แนวคิดสําคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการ
ทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน
(ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ
(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด
“การสอบคล้ายกับ “การปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้าย
เป็นการสร้าง แรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้
(learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการ สอนของครูผู้สอน
การจัดลําดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม
(Bloom
Taxonomy 1956) เมื่อนํามาสัมพันธ์ กับแนวคิด SOLO Taxonomy ของ Biggs & Collis 1982)
SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นความรู้ (จํา) ความเข้าใจ
และการนําไปใช้ ข้อมูลเชิงปริมาณ
SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
- ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง
การกําหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ระดับ
SOLO
1 หมายถึง การเลียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม (Imitative
Maintenance) การเขียน แผนจะยึดตําราเป็นหลัก
ทําแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ํา ๆ เดิม ใช้สื่ออุปกรณ์สําเร็จรูป ไม่มีการ
ประเมินการใช้จริง
ระดับ
SOLO
2 หมายถึง การปรับประยุกต์ใช้ (meditative) การนําแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
มีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง(real world) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อย คํานึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ SOLO 3 หมายถึง
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative) การเขียนแผนที่คํานึงถึง
พฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จะเขียนแผนแนวทางมหภาค
ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ การสอน
เน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย
1.00
- 1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการ
เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับต่ํา/ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย
1.50
2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดกา
เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับปานกลาง/พอใช้
ค่าเฉลี่ย
2.50
- 3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการ
เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับสูงดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น