วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

การทบทวนตนเองหลังการสอนที่มีคุณภาพ


การทบทวนตนเองหลังการสอนที่มีคุณภาพ
การทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นกระบวนการที่เหมาะกับการปฏิบัติงานในอาชีพ เพราะเป็น กระบวนการที่ควรปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการนี้มิใช่จะจําเป็นเฉพาะกับการสอนที่ดี เท่านั้น แต่ยังเป็นความจําเป็นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ด้วย บอเมสเตอร์(Baumeister, 1991) กล่าวว่า ชีวิตมี ความหมายเมื่อเราสนองความต้องการ 4 ประการเหล่านี้ ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2) ด้านค่านิยม 3) ด้าน ประสิทธิผล และ 4) ด้านความพึงพอใจในตนเอง
การทบทวนตนเองหลังการสอนช่วยให้เราเข้าใจการเรียนการสอน คําว่าการทําความเข้าใจ” Weick, (1995) กล่าวว่า การทําความเข้าใจเป็นความคิดและกระบวนการที่ซับซ้อน
ความเข้าใจยังหมายถึง การเพิ่มความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มและในสภาวะ แวดล้อมที่เราสอน ชั้นเรียนของเราเป็นสภาวะแวดล้อมของการเรียนการสอนที่พิเศษ เพราะเราสร้างสภาวะ แวดล้อมขึ้นมาและเราก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตามสภาวะแวดล้อมที่มีผลกับวิธีการสอน ของเราด้วย เช่น ในห้องเรียนขนาดเล็กและแออัดกิจกรรมที่ทําได้ก็จะเป็นเพียงประเภทที่ไม่ต้องใช้โต๊ะ
ความเข้าใจมิได้เป็นเพียงกระบวนการสนทนากับตัวเองเกี่ยวกับเรื่องการสอนเท่านั้นแต่เกี่ยวข้อง กับการได้ความรู้จากการสนทนากับเพื่อนครูด้วยกัน และเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน กระบวนการนี้เป็น กระบวนการต่อเนื่องที่ต้องการความเป็นคนช่างสังเกต ต้องสังเกตความเป็นไปในอาชีพถ้าเห็นว่ามีอะไร เกิดขึ้น ต้องหาเหตุผลมาอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เช่น ต้องสังเกตเห็นว่าเด็กคนไหนพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลา เด็กคนไหนจับดินสอไม่ถูกวิธี คนไหนรักการอ่าน คนไหนเก่งทดลองวิทยาศาสตร์และคนไหนใช้เครื่องบันทึกเทปได้เก่ง



การทบทวนตนเองหลังการสอนจึงเป็นเรื่องการทําความเข้าใจดังภาพประกอบที่ 7




ภาพประกอบที่ 7 การทําความเข้าใจ การทบทวนตนเองหลังการสอน ผลลัพธ์ที่มีคุณค่า
ปรับจาก Anthony Ghaye and Kay Ghaye (1998) Teaching and learning through critical reflective practice อุสุมา ชื่นชมพู ผู้แปล 2546 : 22)

รูปแบบการสะท้อนความคิดนี้ มีลักษณะเด่น 4 ประการ คือ เป็นวงจรมีความยืดหยุ่น มีประเด็น เน้น และมีลักษณะเป็นองค์รวม
1. มีลักษณะเป็นวงจร การทบทวนตนเองและการปฏิบัติเป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อเนื่อง เป็นวงจร เมื่อกระบวนการเริ่มแล้วจะไม่มีการถอยหลังกลับไปสู่จุดเริ่มต้น พูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ การ ทบทวนตนเองหลังการสอน จะนําเราไปสู่วงจรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วต่อไป
2. มีความยืดหยุ่น รูปแบบที่จะนําใช้จําเป็นจะต้องมีความยืดหยุ่น จะต้องไม่เป็นแบบที่มีลักร เป็นขั้นตอน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้มีอยู่ 2 ประการ คือ
ประการแรก การทบทวนตนเองหลังการสอนมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน เช่น
ครูคนหนึ่งอาจจะเริ่มต้นเมื่อเกิดความรู้สึกคับข้องใจที่ไม่สามารถใช้วิธีการที่ตนเอง ต้องการเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ เนื่องจากเพื่อนร่วมงานมีความเห็น แตกต่างกันออกไป พวกเขาไม่เข้าใจว่าวิธีการนี้จะใช้ให้สัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร
ครูอีกคนหนึ่งอาจคิดทบทวนสิ่งซึ่งเขาได้ทดลองใช้กับนักเรียนของเขา (งานเขียนซึ่งครู และนักเรียนทําร่วมกัน) และคิดว่าเหตุใดจึงไม่ได้ผล ครูอีกคนหนึ่งอาจเริ่มจากสิ่งที่เขาเชื่อว่าจําเป็นต้องใช้ (เขาต้องการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน)แต่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถหามาได้
ครูอีกคนหนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนเล็ก ๆ ในชนบทอาจต้องการสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนอื่นอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน ตลอดจนกับธุรกิจต่าง ๆ หรือบริษัทห้างร้านในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น จุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันจากค่านิยมของครูและวิธีการทํางานของครู ในการที่จะผลักดันสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และ ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น หรือค่านิยมเกี่ยวกับโรงเรียนในชุมชนที่กว้างขึ้น
ประการที่สอง รูปแบบการทบทวนตนเองต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการ เรียนรู้ การปรับปรุงการเรียนการสอนไม่จําเป็นต้องดําเนินไปในรูปแบบที่คงที่ และมีขั้นตอนเป็นลําดับ เช่น
ครูคนหนึ่งอาจเลือกที่จะทบทวนวิธีการสอนของเขาก่อน สิ่งหนึ่งที่เขาอาจจะเรียนรู้จาก การทบทวนตนเองก็คือ เขาเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดเองทําเองน้อยเกินไป เขามักจะคอยชี้แนะควบคุม และ สอนหรือบอกเด็กตรง ๆ เมื่อรู้เช่นนี้เขาอาจลองทบทวนค่านิยมหรือความเชื่อของตนเอง (หากต้องการ เปลี่ยนแปลงวิธีสอน) แล้วหลังจากนั้นอาจจะทบทวนต่อไปว่าจะปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเด็ก อย่างไร
ครูคนอื่นอาจจะเริ่มที่การทบทวนถึงสภาวะแวดล้อมซึ่งก็คือโรงเรียนที่เขาสอน โรงเรียน อาจจะตั้งอยู่ในย่านยากจนชานเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครองอาจจะไม่ค่อยมี ในกรณีเช่นนี้ ควรจะต้องมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับชุมชน และโรงเรียนจะต้องเพิ่มบทบาทของตนเอง ต้องหาเงิน เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากร เป็นต้น จากการทบทวนสภาวะแวดล้อมอาจจะตามมาด้วยการพิจารณาว่าสภาวะ แวดล้อมมีผลกระทบต่อการสอนได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะย้อนไปสู่เรื่องค่านิยมของครูและโรงเรียนใน ภาพรวม ดังนั้นค่านิยม การปฏิบัติ การปรับปรุงและสภาวะแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะต้องทบทวน ส่วน ลําดับขั้นตอนในการคิดนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล
3. มีประเด็นที่เน้น การมีความยืดหยุ่น มิได้หมายความว่าจะคิดวกวนอยู่กับปัญหาเกี่ยวกับการ สอนหรือวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวโดยหวังว่าครูจะพบทางออกเอง การคิดจะต้องมีประเด็นที่เน้นและมี ทิศทางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย ในการนี้ควรใช้รูปที่ 1.1 เป็นแผนที่เพื่อช่วยชี้ทิศทางและจํากัด ความสนใจ รูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้เห็นทิศทางโดยรอบ และเห็นหนทางต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหน้าช่วยให้เข้าใจ คสาคัญทางการศึกษาที่จําเป็นจะต้องสํารวจ รูปแบบนี้มีส่วนที่ควรจะพิจารณา 4 จุด คือ ค่านิยม การปฏิบัติ การปรับปรุงและสภาวะแวดล้อม โดยครูจะเลือกพิจารณาจุดใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสนใจ แผนการพัฒนา อาชีพของตนเอง และปัญหาต่าง ๆ
4. มีลักษณะเป็นองค์รวม จากรูปนี้ เราจะมองเห็นการเรียนการสอนภาพรวม เห็นการเชื่อมโยง อมในวิชาชีพเข้ากับการปฏิบัติ การเชื่อมโยงการสอนเข้ากับความตั้งใจของครูที่จะพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ ทําให้ครูเห็นว่าไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของรูปแบบนี้ทํางานอยู่ในสภาพหยุดการเปลี่ยนแป เป็นการทํางานอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมักจะมีความไม่แน่นอนรวมอยู่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...