วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

หลักการประเมินผลการเรียนรู้


หลักการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้นั้นควรจะเป็นกระบวนการที่มีหลักการมารองรับเสมอ หลักการที่จะ ควบคุมกระบวนการการประเมินผลการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน การประเมินลักษณะความสามารถ ของผู้เรียนและองค์ประกอบอื่นๆด้านการเรียนการสอนนั้นต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนซึ่งสอดคล้องกับ จุดประสงค์ของโรงเรียนและของชาติ องค์ประกอบสําคัญของกระบวนการทางการศึกษาควรมีโครงร่างที่ เหมาะสมและความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนควรเป็นสิ่งสําคัญอันดับแรก
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน การ ประเมินผลควรมีการนําเอาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่เฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้ใน จุดประสงค์มาพิจารณาเพื่อเลือกขั้นตอนในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ การประเมินผลควรจะครอบคลุมองค์ประกอบด้าน ความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง ควรจะประเมินพัฒนาการของนักเรียนในผลการเรียนรู้คาดหวังทุก ข้อ การประเมินผล ไม่ควรจะยึดตามการพัฒนาทางปัญญาเช่นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดเท่านั้น แต่ควร จะรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจ และทักษะ เช่นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมและการปฏิบัติจริงอีกด้วย
4. การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมและ ประเมินพัฒนาการของผู้เรียน การประเมินผลควรจะทําคู่ขนานไปกับกระบวนการในการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้ กระบวนการประเมินผลควรสามารถที่ จะเจาะลึกถึงธรรมชาติของสถานการณ์การเรียนการสอนได้เช่นเดียวกับสาเหตุของปัญหาที่ขัดขวาง ประสิทธิภาพของกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาการที่เหมาะสมของนักเรียนในชั้นเรียน ควรจะให้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี อย่างไรก็ตามข้อมูลที่รวบรวมผ่านกระบวนการการประเมินผล ไม่ควรที่จะนํามาใช้เพื่อเก็บบันทึกเพียงอย่าง เดียว แต่ควรถูกนํามาใช้ ประยุกต์ หรือตอบสนองเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน วิธีการสอน และเรื่องอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องที่จะส่งผลต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน การประเมินผล ไม่ควรจะเป็นการทํางานของ บุคคลเพียงไม่กี่คน โดยควรจะเป็นความพยายามร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอนใน หลักสูตรของโรงเรียน เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพและประสบผลสําเร็จ ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และตัวผู้เรียนเองและแม้กระทั่งคนในชุมชนหากจําเป็นควรจะทํางานร่วมกันเพื่อการประเมินผลการพัฒนา และความก้าวหน้าของผู้เรียนที่ดีขึ้น
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะทําให้การ ประเมินผลให้ผลที่สมบูรณ์แบบ ผลการประเมินไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเสมอไปเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการ Iะเมินผลไม่ได้มีความแม่นยําที่สุดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการประเมินผล การตัดสินที่รอบคอบและเฉียบ
ขาดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง

การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
นิยามการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร (Curriculum Based Assessment; CBA) คือ การให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ จากนั้นนําผลการทดสอบไปใช้ปรับปรุงการ เรียนการสอนให้ตอบสนองความต้องการจําเป็นของนักเรียน ผู้สอนนําผลการประเมินตามหลักสูตรมาใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนการสอนของตนเอง เพื่อช่วยผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไป หรือกรณีที่ผู้เรียนที่มีความ พร้อมและต้องการก้าวหน้ายิ่งขึ้น นักการศึกษาใช้การประเมินตามหลักสูตรเพื่อช่วยให้อัตราการพัฒนาการ เรียนการสอนสูงขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน ด้วยการสังเกตและบันทึกการปฏิบัติของ นักเรียนตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้จะช่วยในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการเรียนการสอน (Deno, 1987, p. 41). ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้นการตัดสินใจ เกี่ยวกับการสอนขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ระบุไว้ในหลักสูตร เป้าหมายแรกคือ แนวทางในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Blankenship, 1985; Graden, Zins, & Curtis, 1988; Marston & Magnusson, 1985) ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความต้องการของ ผู้เรียน อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประสบความสําเร็จในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีจุดเด่นที่บอกถึงภาระงานใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนา ความสามารถตามที่หลักสูตรกําหนด การเลือกภาระงาน และกระบวนการใช้คะแนนมาตรฐาน และการ บริหาร ใช้การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไรนั้นก็แล้วแต่สถานการณ์ อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้โปรไฟล์ของผู้เรียนได้ทั้งในระดับรายบุคคล ระดับชั้นเรียน ระดับ สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจากการประเมินตามหลักสูตรสามารถใช้เป็นกลุ่ม เปรียบเทียบ (norm-referenced manner) ที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนรายบุคคลมา (Shinn, 1988) หรือใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ (criterion-referenced manner) ความสามารถของผู้เรียน อันเป็นผลมาจากการเรียน การสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน (Shinn & Good, 1992).
การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษากรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติ ที่เป็นผลการศึกษาวิจัยของเดวิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde สรุปเป็นหลักการประเมินผลและ การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อ ดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มาตรฐาน) ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทําในหลักสตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑยและม24194 ระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2. ให้เวลาและความพยายามกับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วน กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วย ตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับหรือไม่ อย่างไร และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขตของการ ประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสําเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน และครู นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสําหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6. อํานวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการ เรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสําหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมิน โดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล - เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสําหรับ การเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ําหนักคะแนน กําหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการ ประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผลการประเมินผลงาน)ในรายวิชาที่สอน มีมากน้อยเพียงใด)
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขต ของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คําปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีหรือไม่ อย่างไร
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูล ย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้มีมากน้อยเพียงใด
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการการประเมินการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2.ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...