วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา


การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
สํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา(2553 หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชีวัด คุณภาพการศึกษา มีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงใน สํานักบริการวิชาการและจัดหารายได้มหาวิทยาลัยรา
1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน มีการบูรณาการดังนี้
1.1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์ โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะ ชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และมีงานวิจัยย่อยๆ โดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อยๆ และมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ ให้คําแนะนําปรึกษา นักศึกษาจะได้ฝึกฝนกระบวนการวิจัย ตั้งแต่ต้นจนจบ ทําให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทําวิจัย
1.2 กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทําโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาใน รูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย โดยมีอาจารย์ควบคุมการ ดําเนินงานเป็นระยะ ๆ แต่มิใช่รายวิชาวิจัย หรือ อาจารย์มีโครงการวิจัยและให้นักศึกษาร่วมเป็นทีมการทําวิจัยที่มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน หรือให้ นักศึกษา เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัย (Under Study Concept) ที่มีแผนการวิจัยชัดเจนว่านักศึกษามีส่วน ร่วมในกระบวนการใดบ้าง เช่น การทบทวนเอกสาร การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีนี้ต่างจากวิธี แรกที่นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทําวิจัยครบทุกขั้นตอน แต่วิธีที่สองนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้บางส่วนของ การวิจัยเท่านั้น ดังนั้นอาจารย์ควรดําเนินการเพิ่มเติมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครบ กระบวนการด้วย
1.3 กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเข้าฟังการบรรยายหรือ สัมมนา เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์ หรือ เข้าร่วมการจัดแสดงงานสร้างสรรค์ของ อาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ แต่วิธีการนี้นักศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายใน การเข้าร่วมงานอาจทําให้นักศึกษาเข้าร่วมงานได้บางส่วนเท่านั้น อาจารย์ ควรมอบหมายงานให้ผู้ที่เข้า ร่วมงานสรุปสิ่งที่ได้จากการเข้ารับฟังการบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย และนํามาร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน
1.4 จัดให้มีการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา หรือ ส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1.5 การส่งเสริมให้อาจารย์นําผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง ของเนื้อหาใ. จัดการเรียนการสอน หมายถึงอาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับกับรายวิชาที่สอนและนําองค์ความ๒๘ ๔. ข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน เพราะการวิจัยทําให้มีการค้นพบความรู้ใหม่
อยู่ตลอดเวลา ทําให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ในการนําผลงานวิจัยมาใช้สอนนั้นต้องเป็น ผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนเองไม่สามารถนําผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่เป็นภายนอกมาไม่เรียกว่าเกิด การบูรณาการ
2. การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง กิจกรรมหรือ โครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับ เบคคลภายนอก ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกําไร เป็นลักษณะงาน บริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการสังคม โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ และ/หรือมีองค์กร ช่วยสนับสนุนในการลงทุนสําหรับการจัดกิจกรรม และให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ร่วมกิจกรรมในการออก ค่าใช้จ่าย ด้วยอีกส่วนหนึ่ง และประเภทหารายได้เป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อ บริการบุคคล กลุ่มบุคคล/องค์กร ภาครัฐ และเอกชน โดยผู้เข้าอบรมต้องเสียค่าใช้จ่าย (งานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัย มหิดล, 2556) ในการบูรณาการวิชาการแก่สังคม สามารถดําเนินการได้ดังนี้
2.1 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัด กระบวนการเรียนการสอนปกติ และมีการกําหนดให้นักศึกษานําความรู้ที่ได้รับจัดทําเป็นโครงการหรือ กิจกรรม ไปบริการวิชาการให้กับบุคคลภายนอก
2.2 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนําองค์ความรู้จาก งานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือการนําความรู้ ประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอด ความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3. การบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน สถาบัน ควรสนับสนุนให้มีการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน คือมีการจัดการ เรียนการสอนที่นําการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการ สอน เมื่อมีการบูรณาการกําหนดให้มีการประเมินความสําเร็จของการบูรณาการ และมีการนําผลการประเมิน ไป ปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...