วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็น ส่วนหนึ่งขอกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน ทั้งในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN Cooperation Initiative in Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้าง คุณภาพการศึกษาของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน (AUN Quality Assurance - AUN-QA) ที่ตระหนักถึงความสําคัญของประกันคุณภาพการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาและความจําเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐาน การศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network - AUN) ซึ่งระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (AUN Quality Assurance – AUN-QA) เป็นกลไกการ ประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนํามา
1ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA โดยมีเกณฑ์พิจารณา 11 หมวด ได้แก่
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2. ข้อกําหนดหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5. การประเมินผลนักศึกษา
6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9. สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10. การเพิ่มคุณภาพ
11. ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนําเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป
2. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวง กําหนด ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารการดําเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา :
2. แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4. แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจําปีของสถานศึกษา
7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่ การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดําเนินงาน เขียนแสดง ความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13

ภาพประกอบที่ 13 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มา (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545 : 3)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...