วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์


วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์
การสอนแบบวิทยาศาสตร์  (Scientific Method)
ความหมาย วิธีสอนแบบแก้ปัญหา เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหา
โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Nehod) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มีการรวบรวมข้อมูล มีการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล 
1. ความหมายของการสอนแบบแก้ปัญหา
1.       มุ่งฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ และสรุป
2.       มุ่งฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผล ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการที่ผู้เรียนจะนำวิธีการไปใช้แก็ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวันได้
3.       มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.       มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดอิสระและการทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อน
2.       ขั้นตอนการสอนของการสอนแบบแก้ปัญหา
           1.       ขั้นเตรียม
1.1   ผู้สอนศึกษาแผนการสอน เนื้อหา และจุดประสงค์การสอนอย่างละเอียด
1.2   ผู้สอนวางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นขั้นตอนตามลำดับ
           2.ขั้นดำเนินการสอน
2.1   ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา และกำหนดของเขตของปัญหา ผู้สอนอาจใช้วิธีเล่าเรื่อง สร้างสถานการณ์จำลอง อภิปราย ศึกษากรณี เฉพาะราย ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหานั้น ถ้ามีหลายปัญหาอาจแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)นำทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
2) จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา
3)ช่วยตั้งจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน
2.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นวางแนวทางที่จะหาคำตอบของปัญหา โดยให้ผู้เรียน
ตั้งสมมุติฐานว่า ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใดบ้าง บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้ คือ
1)      ช่วยผู้เรียนวางแผนจะแก้ปัญหาได้โดยวิธีใดบ้าง
2)      แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นข้อ
มูลใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาจค้นคว้าจากตำรา เอกสารต่างๆ จากการสัมภาษณ์ ซักถามผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ แล้วจดบันทึกข้อมูลไว้ บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)      แนะนำแหล่งความรู้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล
2)      ติดต่อบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้าเพื่อให้สัมภาษณ์แก่ผู้เรียน
2.4   ขั้นทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลมาพิจารณาโดยเริ่ม
จากการทดลองปฏิบัติดู และนำผลจากการทดลองวิเคราะห์ว่าวิธีใดใช้ได้ผลในการแก้ปัญหาอาจใช้ได้หลายวิธีแตกต่างกันไป บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)      สังเกตการทดลองหรือวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน และให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น
2)      อำนวยความสะดวกด้านวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องการใช้ในการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.5   ขั้นประเมินและสรุปผล เป็นขั้นสุดท้ายของลำดับขั้นสอน เมื่อผู้เรียนได้ทำ
การทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 2.4  แล้ว ผู้เรียนย่อมสามารถประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาและสรุปได้ว่า วิธีการใดได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)      ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรายงานวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นที่ 1 จนถึงขั้น ที่ 5
3. ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วแจ้ให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
                3.  เทคนิคในการสอนแบบแก้ปัญหา
การนำวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไปใช้ ผู้สอนควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้
1.       ปัญหาที่นำมาให้ผู้เรียนศึกษา ควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่น ปัญหาความไม่สะอาดของห้องเรียน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเรียน ปัญหาอุบัติเหตุ ฯลฯ
2.       ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหา ผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นำให้ผู้เรียนคิดและมองเห็นปัญหา เช่น เทคนิคการถามคำถาม การเล่าเรื่อง การยกตัวอย่าง ฯลฯ
3.       ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหา แหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้า
4.       ในการสอนต้องให้เวลาและอิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล
5.       ผู้สอนควรควบคุมในการแก้ปัญหาของกลุ่มหรือรายบุคคลดำเนินไปด้วยดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการแก้ปัญหา
      ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา
ข้อดี
1.       ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการวิเคราะห์และการตัดสินใจ
2.       ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3.       เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
4.       ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการฝึกแก้ปัญหา จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ข้อจำกัด
1.       ผู้เรียนต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดความจริงไป
2.       ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูล จึงจะสรุปผลได้ดี
3.       ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อาจนำไปผิดทางได้
4.       การกำหนดปัญหา ถ้าเลือกปัญหาไม่ดีจะทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ 
1. ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนด
2. ครูต้องยึดมั่นในบทบาทของตนในการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...