วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร

ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร

เพชร เปรียบเสมือน นักเรียน นักเรียนทุกคนมีความสามรถหรือความถนัดอยู่ในตัว ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลที่จะต้องได้รักการเจียรไนเหมือนเพชร
คนเป็นครูก็เหมือนคนเจียรไนเพชร แม้ว่าเพชรจะมีค่าในตัวมันเอง แต่หากไม่มีคนเจียรไน ใครจะไปเห็นค่าของมัน มันก็แค่หินก้อนหนึ่ง และหากเจียรไนไม่ดีแล้ว เพชรมันย่อมไร้ประกายที่สดใสสวยงาม
หากเราเจียรไนไม่ดี เท่ากับว่าเพชรเม็ดนั้นจะหมดโอกาสเปล่งประกายตลอดไป
ดังนั้นคนเจียรไนต้องทุ่มเท ต้องมีความรับผิดชอบ เพื่อเพชรก้อนนั้นจะได้เปล่งประกายต่อไป อนาคตของนักเรียนคนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับครู ว่าจะสอนสั่งเด็กๆให้เรียนรู้วิชา เป็นคนดี และเปล่งประกายอยู่ในวงการ อยู่ในสังคมได้มากขนาดไหน
การเจียรไนเพชร เพชรทุกเม็ดย่อมไม่เหมือนกัน การเจียรไนนอกจากพื้นฐานต้องดีแล้ว ย่อมต้องอาศัยการประยุกต์พลิกแพลงให้ถูกต้อง เพื่อให้เพชรเม็ดนั้นเปล่งประกายมากสุด ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด
การสอนก็เหมือนกัน นอกจากสอนตามพื้นฐานแล้ว การสอนควรจะต้องประยุกต์เพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน หามุมหาเหลี่ยมให้เจอ เจาะประเด็นให้ถูก เพื่อดึงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด


ดอกบัว เปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก นั่นคือ บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป
บัวเหล่าที่ 1 เรียกว่า อุคคฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เมื่อได้ฟังธรรมก็รู้และเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อแดดออกก็เบ่งบานได้ทันที
บัวเหล่าที่ 2 เรียกว่า วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรมและได้กลับไปพิจรณาตาม ได้อบรมทบทวน ก็เข้าใจได้ในอันไม่ช้า เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ จะบานได้ในวันถัดไป
บัวเหล่าที่ 3 เรียกว่า เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่ยังพอมีความตั้งใจ เมื่อได้รับฟังธรรมแล้วก็หมั่นฝึกศึกษาอยู่เสมอ ในที่สุดก็สามารถทำความเข้าใจได้ในวันข้างหน้า เปรียบเหมือนบัวใต้น้ำ สักวันก็จะได้เบ่งบาน
บัวเหล่าที่ 4 เรียกว่า ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญา หนำซ้ำยังไม่มีความตั้งใจ ไม่อาจเข้าใจธรรมได้ เปรียบเหมือนบัวตามโคนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสได้ผุดได้โผล่พ้นน้ำ

ครูก็มักสอนให้นักเรียนทำตัวเป็นบัวเหล่าที่ 1 หรือเหล่าที่ 2 จะได้เป็นคนดีของสังคม แต่การสอนให้มองประเภทของคนเป็นบัวแต่ละเหล่านั้น ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก เพราะการเปรียบเทียบแบบนี้
ต้องอ้างอิงกับระดับน้ำ
ในการอุปมาแบบนี้ ระดับน้ำคงเปรียบได้กับ ระดับคุณธรรมของสังคม ถ้าระดับน้ำสูง การจะถือได้ว่าเป็นคนดี มีคุณธรรม เหมือนบัวที่บานแล้ว ก็คงทำได้ยาก ใช้เวลานานกว่าบ่อที่ระดับน้ำต่ำกว่า ถ้าระดับน้ำต่ำหน่อย บัวเหล่าที่ 3 ของบ่อหนึ่ง ก็อาจจะเป็นเหมือนบัวเหล่าที่ 1 ของอีกบ่อได้

ดอกบัวยังไม่สามารถขึ้นสูงได้เกินกว่าระดับน้ำเท่าไรนัก ต่อให้อยากสูงได้แค่ไหน ก้านบัวก็ไม่แข็งแรงพอที่จะขึ้นสูงไปมากกว่านั้นได้ ถ้าไม่มีน้ำมาช่วยพยุงไว้ เด็กๆ ที่ถูกเลี้ยงก็ไม่อาจมีคุณธรรมได้สูงไปกว่าระดับคุณธรรมของสังคมเช่นเดียวกัน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...