การสอนแบบเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล
(K
W D L)
การสอนแบบเทคนิค
เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) หรือ เทคนิค
เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K W D L) ได้พัฒนาขึ้นโดย Ogle
(1989) เพื่อใช้สอนและฝึกทักษะทางการอ่าน
และต่อมาได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น โดย Carr และ Ogle ในปีถัดมา (1987) โดยยังคงสาระเดิมไว้
แต่เพิ่มการเขียนผังสัมพันธ์ทางความหมาย (Semantic Mapping) สรุปเรื่องที่อ่าน
และมีการนำเสนอเรื่องจากผังอันเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนและพูด
นอกเหนือไปจากทักษะการฟัง และการอ่าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการสอนทักษะภาษา
แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆที่มีการอ่านเพื่อทาความเข้าใจ เช่น
วิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น
เพราะว่าผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการการทาความเข้าใจตนเอง
การวางแผนการ ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจในตนเอง การจัดระบบข้อมูล
เพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีประโยชน์ในการฝึกทักษะการอ่าน
คิดวิเคราะห์ เขียนสรุป และนำเสนอ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอบ 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1
K (What we know) นักเรียนรู้อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียนหรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2
W (What we want to know) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้
ขั้นที่ 3
D (What we do to find out) นักเรียนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อหาคำตอบตามที่โจทย์ต้องการ
หรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้
ขั้นที่ 4
L (What we learned) นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ต่อมา ซอและคณะ
อาจารย์มหาวิทยาลัยมิสซัสซัปปี้ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคนิค K-W-D-L
มาใช้สอนในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งนำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative
Learning) มาผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งการนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้โดยพัฒนาเป็นการจัดการเรียนรู้เรียกว่าเทคนิค
K-W-D-L มีการทดลองใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งครูในโปรแกรม
PDS (Professional Development School) ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยมิสซัสซิปปี้ได้ขอให้ทางมหาวิทยาลัยริเริ่มจัดโครงการเรียนร่วมกลุ่ม
(cooperative learning) ผู้ร่วมโครงการ คือครูผู้สอนเกรด 4 และนักเรียนของตน เป็นโรงเรียนที่อยู่ในชนบทห่างไกล
ครูไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องการจัดการเรียนร่วมกลุ่มใน วิชาคณิตศาสตร์มาก่อน
แต่ใคร่ที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ กลวิธีนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มทดลองมี 2 ห้องเรียนใช้การเรียนร่วมกลุ่มในวิชา คณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆด้วย ส่วนอีก
2 ห้องเรียน นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นครั้งคราว
ในกลุ่มทดลองนั้น นักเรียนจะเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นกลุ่ม 2 –
4 คาบ
ต่อสัปดาห์และคาบที่เรียนร่วมกลุ่มนี้จะเรียนหลังจากที่ได้เรียนหัวข้อต่างๆ
อันเป็นพื้นฐานในกลุ่มใหญ่แล้วในกลุ่มทดลองนี้นักเรียนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้หนังสือเรียนแบบฝึกสถานการณ์จริงที่ครูแนะนำ
และสื่อสาเร็จที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นครูได้รับการแนะนำและทบทวนเกี่ยวกับกลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะเช่น
การเดา และการตรวจสอบ ทำแผนภูมิ และภาพประกอบ
นอกจากนี้ยังมาจากความคิดริเริ่มพัฒนาและการมีส่วนร่วมในกลวิธีคิดของนักเรียนอีกด้วย
สำหรับตัวนักเรียนที่ทางานเป็นกลุ่มๆ ในเรื่องโจทย์
ปัญหาโดยใช้กลวิธีแก้ปัญหานั้นพวกเขายิงคิดโจทย์ปัญหาและช่วยกันแก้ปัญหาของพวกเขาเองที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย
โจทย์ปัญหาที่นักเรียนชอบคือ ประเภทตรรกศาสตร์ประเภทปลายเปิดที่สร้างจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
เช่น การไปจ่ายตลาด เป็นต้นว่า ถ้าต้องการจะทำอาหาร 2 มื้อ สาหรับคน 4 คน
แต่ละมื้อจะต้องมีอาหารครบหมู่ให้นักเรียนใช้ใบโฆษณาสินค้าจากหนังสือพิมพ์วางแผนว่า
ถ้ามีเงิน 500 บาทจะซื้ออะไรได้บ้างให้ช่วยกันประมาณค่าของที่ต้องการซื้อแล้วหาวิธีการคิดให้ได้จานวนเงินใกล้เคียง
500 บาท ขั้นต่อไปจึงใช้เครื่องคิดเลขเพื่อตรวจสอบราคาจริง K-W-D-L:
เทคนิคในการจัดการและบันทึกผลงาน
การชี้แนะการทำงานของเด็กในการทดลองนี้ ได้นำเทคนิค K-W-L ของ
Ogle มาใช้ K What we know. W What we want to know.
D What we do to find out. L What we learned. เป็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เทคนิค
K-W-L นี้ Ogle ได้พัฒนาขึ้นสาหรับช่วยการอ่านเพื่อความเข้าในเป็นเทคนิค
ที่ชี้แนะให้ผู้อ่านใช้ขึ้นตอนเช่นเดียวกับผู้อ่านที่เชี่ยวชาญแล้ว ใช้อยู่เทคนิคนี้สามารถประยุกต์ใช้กับการค้นหาวิธีการต่างๆทางคณิตศาสตร์ได้
K คือ รู้อะไรอยู่บ้างแล้ว ในขั้นตอนนี้
ผู้อ่านระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านว่ารู้
อะไรอยู่บ้างแล้วครูทำหน้าที่บันทึกคาตอบและช่วยนักเรียนจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเหล่านั้น
ช่วยอธิบายความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนหรือช่วยอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเป็นกลุ่ม ขั้นตอน ‘K’ จะเกี่ยวข้องการการอ่านโจทย์ปัญหาตีความ
ถกแถลงเกี่ยวกับข้อมูลที่ให้มา อาจรวม ทั้งกระบวนการวิธีอื่น เช่น
ลงมือปฏิบัติตามที่ปัญหากำหนด วาดรูป ทำแผนภูมิ เพื่อว่านักเรียนจะได้เข้าใจปัญหาและรู้ว่าตนรู้อะไรบ้าง
แล้วเกี่ยวกับปัญหานั้น W คือ ต้องการจะรู้อะไร
ด้วยการชี้แนะจากครู นักเรียนจะบอกสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียน
รู้ได้บ่อยครั้งนักเรียนจะมีคำถามที่ยังไม่ได้ตอบในเรื่องที่อ่าน
หรือนักเรียนอาจยกหัวข้อที่ยังไม่ได้ถกแถลงกันขึ้นมา และต้องค้นหา
จากแหล่งความรู้อื่น เพื่อที่จะหาคำตอบและข้อมูลเหล่านั้น
สำหรับการแก้โจทย์ปัญหานั้น
ขึ้นตอน ‘W’ จะเกี่ยวข้องกับข้อตกลงของกลุ่มในเรื่องที่โจทย์ถามว่าคำถามคืออะไร
และคำถามนั้น หมายความว่าอะไรส่วนขั้นตอนที่ว่าต้องการรู้อะไรนั้นอาจเกี่ยวข้อง
กับการตัดสินใจของนักเรียนในการวางแผนจะแก้ปัญหา
พวกเขาอาจตกลงกันว่าจำเป็นต้องไปหาข้อมูล
และต้องตัดสินใจว่าจะไปหากแหล่งข้อมูลที่ไหนหรือบางครั้งอาจต้องทำโพลหรืออาจต้องไปคุยกับใครๆ
หรืออาจต้องการทำการวัด ทำการทดลองหรือต้องไปค้นคว้าจากหนังสืออุเทศต่างๆ L
คือ ได้เรียนรู้อะไร ขั้นตอนนี้ของ Ogle ให้นักเรียนอ่านในใจละบันทึกว่าได้รู้อะไรบ้าง
แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง แล้วบันทึกไว้ขั้นตอนนี้ช่วยให้
ผู้เรียนได้ขัดเกลาและขยายความคิดเห็นทั้งกระบวนการอ่านและกระบวนการเขียน
ในการแก้โจทย์ปัญหา ขั้นตอน ‚L‛
นี้ประสงค์ให้ผู้เรียนบอก
คำตอบรวมทั้งอธิบายและชี้แจงถึงขึ้นตอนของการดำเนินการแก้ปัญหา
พวกเขาอาจให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบเพื่อความแน่ใจหรือพวกเขาอาจพูด
กันถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบของพวกเขาเองกลุ่มนักเรียนจะได้รับ
การส่งเสริมให้เห็นผลสะท้อนและได้เขียนเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่ได้ เรียนรู้
ตัวอย่างเช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งอาจเขียนและพูดเกี่ยวกับ
เรื่องวิธีการวาดภาพช่วยได้อย่างไร
หรือการที่พวกเขาได้ใช้กระบวนวิธีเดาและตรวจสอบอย่างไร เป็นต้น ผลการทดลอง
พบว่านอกเหนือ
จากขั้นตอนของ
Ogle
แล้วได้เพิ่มขั้น ตอน ‚D‛
อีก 1 ขั้นตอน คือ ‚ได้ทำอะไรไปบ้าง‛
สมาชิกของกลุ่มใช้แบบบันทึกขั้นตอนขณะที่ช่วยกันวางแผนและกระบวนการดำเนินงานที่พวกเขาได้ใช้ในขณะที่ทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหา
ขั้นตอน ‚D‛
นี้ได้จัดไว้ในลาดับที่ 3 ก่อนขั้นตอน ‚L‛
มีการใช้โจทย์ปัญหาทดสอบนักเรียนทั้งสองกลุ่มทั้งก่อนและหลัง
การให้คะแนนงานกลุ่มได้ใช้ของ Charles, Lester และ O’Daffer
(1986) โดยใช้ระดับคะแนนรวม 1 2 3 และ 4 ผลปรากฏว่า นักเรียนใน 2
ห้องเรียนที่ใช้การเรียนร่วมกลุ่มได้ระดับคะแนนสูงกว่านักเรียนอีก 2 ห้อง เรียนที่ไม่ได้ใช้ นอกจากนี้
เจตคติด้านบวกของการเรียนร่วมกลุ่มโดยใช้ KWDL เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา
ยังมีข้อสนับสนุนต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น
เด็กๆระบุว่าพวกเขามีความสนุกที่ได้ทางานร่วมกันมีความเชื่อมันมากขึ้นมีความสนใจเพิ่มขึ้นและมีความตื่นเต้นดี
เด็กๆมีความภาคภูมิใจในความ สามารถที่เพิ่มขึ้นในการแก้ปัญหา
โดยเฉพาะข้อปัญหาที่ต้องการให้เหตุผล 2
ด้านขณะที่คิดปัญหาเหล่านี้เด็กๆ จะใช้กลวิธีต่างๆรวมทั้ง การวาดภาพ ทำแผนภูมิ
และใช้วิธีเดาแล้วตรวจสอบ ขณะที่เด็กๆ ทำงานกลุ่ม
พวกเขาจะคอยตรวจสอบตัวเองบ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคาตอบนั้นตรงกับคำถาม (quoted
in Cooperative Problem Solving. 1977:482-486)
ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิค
KWDL
จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีระดับขึ้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ
ซึ่งจะช่วยเป็นแรงเสริมที่ทำให้ผู้เรียนมีการถ่ายทอดแนวความคิดได้อย่างเป็นระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น