การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจํากัดขอบเขตของเรื่องที่จะนํามาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้อง
นํามาสอน
ซึ่งมีความสําคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนํามา
สอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ
การเรียนรู้จริง ๆ ของ ผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ที่จําเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่
แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบ ความสําเร็จในการเรียน
วิเคราะห์สาระการเรียนรู้
เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ อาจจะแบ่งได้ หลายลักษณะ
เช่น การเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กําหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ข้อมูลที่เป็นความรู้
2) เจตคติ และ 3) ทักษะ ส่วนเดคโค (De
Cecco 1968 : 214 - 447) แบ่งสาระการ เรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1)
ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3)
ความคิดรวบยอดและหลักการ และ 4) การแก้ปัญหา
การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
ควรดําเนินการดังนี้
ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจําเป็นสูงสุด
แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย
ๆ
ขอเสนอแนะให้นําโครงสร้างการจําแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน
อาทิ การจําแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom's
Taxonomy)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น