วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การวิเคราะห์ภาระงาน


การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่ รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งานทําได้โดยการจําแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้น การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คําถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการ วิเคราะห์งาน ดังนี้
ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
          ขั้นตอนที่จําเป็น (critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (Critical paths) คืออะไร
ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ (formal)
2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน ( on the job training :OIT)
3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
          donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ดังนี้ ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน และจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่น หรือไม่
ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (cognitive ) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
          เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร
พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
          พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...