วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012) ได้นําเสนอกลวิธีการ จัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสําคัญให้กับการเรียนในทุกบทเรียน เมื่อครูสร้าง สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ย่อมจูงใจและทําให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการ ดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง 2) การช่วยพัฒนาความรู้ความ เข้าใจให้กับผู้เรียน (Helping students Develop Understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนใน การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดลําดับองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้เก่ากับองค์ความรู้ใหม่ จัดการกับ ความรู้ ตรวจสอบความรู้ สร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้ กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ (1) การสร้างขั้นตอนที่จําเป็นในแต่ละกระบวนการ หรือทักษะ (2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย (3)ปฏิบัติ ตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา และ 3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ (Helping students Extend and Apply Knowledge) กลวิธีในส่วนที่ 3 คือ ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายองค์ ความรู้ โดยนําความรู้กับไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุ และผล และถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลักการ Universal Design (UD) จะเกี่ยวข้องกับการ ออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (Story, Mueller, & Mace, 1998) เมื่อนํา Universal Design (UD) มาใช้ ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคน ได้แก่ การสอนที่ใช้สื่อ และ วิธีการแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การร่วมกันอภิปราย การทํางานกลุ่ม การสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ต ใช้ ห้องปฏิบัติการ การออกฝึกภาคสนาม เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับ ความสามารถในห้องเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2555: 4-6) Universal Design (UD) ถูก นํามาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา อาทิ คอมพิวเตอร์ เว็ปไซต์ ซอร์ฟแวร์ หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ ใช้ในห้องทดลอง ฯลฯ และนํามาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม ห้องสมุด และคอร์สรายวิชาเรียนทางไกล เป็นต้น



การสอนที่มีประสิทธิภาพ 
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่ควรคำนึงถึง ดังนี้   
  1.  การบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้  
 1)  การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพที่พร้อมใช้ และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคนในห้อง
 2)  การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอยู่กับการใช้เวลา ในการด าเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครูไม่ควรปล่อยให้มีเวลาว่างหรือเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อันเนื่องจากความไม่พร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์และการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะ ความไม่พร้อมจะท าให้เกิดความวุ่นวาย เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากและทำให้การดำเนินงาน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ครูต้องบริหารการใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ 
2.  การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ คือการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไป ตามล าดับขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการดังนี้  
 1)  เริ่มต้นบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีที่กระตุ้นกระบวนการคิดและสติปัญญา ก็คือการสร้างความสงสัย ประหลาดใจให้กับผู้เรียน ทำให้ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากค้นพบคำตอบ เช่น การน าเสนอข้อมูลหรือความคิดที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้อง กับความรู้ ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย กังขา การใช้คำถามที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นต้น293
             2)  ดำเนินการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นที่ครูจัดการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งทิศนา  แขมมณี (2555หน้า 120) ได้ให้ความหมายว่า เป็นการจัดการเรียน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะ ได้รับและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่ แท้จริง  ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
 (1)  กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่และ รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
(2)  กิจกรรมที่ท้าทายให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ โดยครูนำเสนอ ปัญหาและสถานการณ์ให้คิด ครูมีบทบาทช่วยชี้ช่อง แนะแนวให้นักเรียนเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหา
 (3)  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบ
 (4)  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเพื่อปรับเติม เสริมแต่ง และต่อยอดความรู้
 (5)  กิจกรรมที่สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้
 (6)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  (7)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทดลองใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน
 (8)  กิจกรรมที่ผู้เรียนใช้กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้รับรู้เพื่อให้เข้าใจและ จดจำได้ง่ายและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
 (9)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง  บทบาทที่สำคัญของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การ เป็นผู้เตรียมการลำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ การท าหน้าที่เป็นผู้ให้ค าแนะน า ปรึกษา เป็น ผู้ช่วยเหลือ เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ บทบาทของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็คือบทบาทที่ท าหน้าที่เหมือน โค้ชนักกีฬานั่นเอง  
  3)  สรุปบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพราะเป็น ขั้นตอนในการเชื่อมโยงและประมวลความรู้ระหว่างความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับกับความรู้และ ประสบการณ์เดิมให้เป็นความคิดรวบยอดใหม่ที่มีความครอบคลุม ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น   ทำให้ ผู้เรียนสามารถบันทึกและจดจำได้ทนนาน เพราะเป็นการจดจำอย่างมีความหมาย การสรุปบทเรียนจึงมี
ความสำคัญและควรทำร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปด้วยความเข้าใจใหม่ของ ตนเอง ครูทำหน้าที่ให้แนวทางการสรุปข้อมูล เช่นการแนะนำการใช้แผนภาพความคิด (graphic organizer) แบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับการสรุปและนำเสนอข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการ และให้ข้อมูลย้อนกลับ กับผลงานของนักเรียนเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงแก้ไขงานและการสร้างความคิดรวบยอดใหม่ ให้มีความถูกต้อง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 
 4)  ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนคือการประเมินความก้าวหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถทำพร้อมไปกับ กระบวนการเรียนการสอน การประเมินครอบคลุมทั้งการประเมินผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน วิธีการประเมินใช้เครื่องมือหลากหลายประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ประเมิน ผู้ทำ หน้าที่ประเมินไม่จำกัดอยู่ที่ครูเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นผลการประเมินที่ทุกฝ่าย ได้แก่ ครู นักเรียนและ แม้แต่ผู้ปกครองหรือสังคม มีส่วนร่วมในการสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างรอบด้านเท่าที่จะ เป็นไปได้เพื่อนำมาใช้ในการประเมินการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการประเมินคือการประเมินเพื่อ พัฒนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง
การสอนที่มีประสิทธิภาพ
 การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่ควรคำนึงถึง ดังนี้  
  1.  การบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้ 
          1)  การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพที่พร้อมใช้ และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคนในห้อง
          2)  การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอยู่กับการใช้เวลา ในการด าเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครูไม่ควรปล่อยให้มีเวลาว่างหรือเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อันเนื่องจากความไม่พร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์และการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะ ความไม่พร้อมจะท าให้เกิดความวุ่นวาย เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากและทำให้การดำเนินงาน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ครูต้องบริหารการใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่
 2.  การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ คือการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไป ตามล าดับขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการดังนี้ 
          1)  เริ่มต้นบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีที่กระตุ้นกระบวนการคิดและสติปัญญา ก็คือการสร้างความสงสัย ประหลาดใจให้กับผู้เรียน ทำให้ ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากค้นพบคำตอบ เช่น การน าเสนอข้อมูลหรือความคิดที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้อง กับความรู้ ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย กังขา การใช้คำถามที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เป็นต้น
2)  ดำเนินการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นที่ครูจัดการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งทิศนา  แขมมณี (2555, หน้า 120) ได้ให้ความหมายว่า เป็นการจัดการเรียน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะ ได้รับและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่ แท้จริง  ดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้
 (1)  กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่และ รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง
(2)  กิจกรรมที่ท้าทายให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ โดยครูนำเสนอ ปัญหาและสถานการณ์ให้คิด ครูมีบทบาทช่วยชี้ช่อง แนะแนวให้นักเรียนเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหา
 (3)  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบ
 (4)  กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเพื่อปรับเติม เสริมแต่ง และต่อยอดความรู้
 (5)  กิจกรรมที่สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้
 (6)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  (7)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทดลองใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน
 (8)  กิจกรรมที่ผู้เรียนใช้กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้รับรู้เพื่อให้เข้าใจและ จดจำได้ง่ายและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
 (9)  กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง  บทบาทที่สำคัญของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การ เป็นผู้เตรียมการลำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ การท าหน้าที่เป็นผู้ให้ค าแนะน า ปรึกษา เป็น ผู้ช่วยเหลือ เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ บทบาทของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็คือบทบาทที่ท าหน้าที่เหมือน โค้ชนักกีฬานั่นเอง 
          3)  สรุปบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนที่ส าคัญเพราะเป็น ขั้นตอนในการเชื่อมโยงและประมวลความรู้ระหว่างความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับกับความรู้และ ประสบการณ์เดิมให้เป็นความคิดรวบยอดใหม่ที่มีความครอบคลุม ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น   ทำให้ ผู้เรียนสามารถบันทึกและจดจำได้ทนนาน เพราะเป็นการจดจำอย่างมีความหมาย การสรุปบทเรียนจึงมี

ความสำคัญและควรทำร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปด้วยความเข้าใจใหม่ของ ตนเอง ครูทำหน้าที่ให้แนวทางการสรุปข้อมูล เช่นการแนะนำการใช้แผนภาพความคิด (graphic organizer) แบบต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมกับการสรุปและนำเสนอข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการ และให้ข้อมูลย้อนกลับ กับผลงานของนักเรียนเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงแก้ไขงานและการสร้าง ความคิดรวบยอดใหม่ ให้มีความถูกต้อง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
          4)  ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนคือการประเมินความก้าวหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถทำพร้อมไปกับ กระบวนการเรียนการสอน การประเมินครอบคลุมทั้งการประเมินผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน วิธีการประเมินใช้เครื่องมือหลากหลายประเภทให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ประเมิน ผู้ทำ หน้าที่ประเมินไม่จำกัดอยู่ที่ครูเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นผลการประเมินที่ทุกฝ่าย ได้แก่ ครู นักเรียนและ แม้แต่ผู้ปกครองหรือสังคม มีส่วนร่วมในการสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็นต่าง ๆ อย่างรอบด้านเท่าที่จะ เป็นไปได้เพื่อนำมาใช้ในการประเมินการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการประเมินคือการประเมินเพื่อ พัฒนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...