วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน


การกําหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมาย มี 2 ลักษณะ คือ
จุดมุ่งหมาย(goals) ที่มีลักษณะกว้าง ๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถวัด หรือสังเกตได้ทันที
จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้ บางครั้งเรียกว่า จุดประสงค์การเรียนรู้ (performance objective) จําแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ จุดประสงค์เพื่อพัฒนา ศักยภาพ (potential performance) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ (typical performance)
การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนสื่อความหมายให้เข้าใจนัยเพียงหนึ่งเดียว
การระบุสมรรถภาพให้ชัดเจน ควรได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาแล้วมีความสามารถที่จะ ทําอะไรได้ โดยที่เอก่อนเรียนรู้รายวิชานั้น ๆ ยังไม่สามารถทําได้
การเชื่อมโยงอดีตกับอนาคต ถ้าเป็นไปได้เน้นย้ํามโนทัศน์จากชั้นเรียนที่ผ่านมา พยายามเชื่อมโยง ให้เห็นความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่จะเรียนในอนาคต
จุดมุ่งหมายกับการทดสอบ ถ้าเราเขียนจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาจะทําให้สร้าง แบบทดสอบได้ง่าย ยังสามารถกําหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้ได้เป็นอย่างดี
    การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
A แทน Audience หมายถึง ผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและกําหนดเวลา
B แทน Behavior หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียน โดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้
C แทน Conditions หมายถึง สภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือแสดง พฤติกรรมที่สามารถวัดได้
D แทน Degree หมายถึง ระดับหรือเกณฑ์การวัดที่กําหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
    การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก SMART
1. S -Sensible & Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจน จุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดี ต้องมีความเป็นไปได้และชี้เฉพาะ
2. M - Measurable จุคมุ่งหมายต้องสามารถวัดผลได้ ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผลการดําเนินการ เป็นอย่างไร ประสบความสําเร็จหรือไม่
3. A - Attainable & Assignable จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้ และผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัตินําไปปฏิบัติ ได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามจุดมุ่งหมายที่กําหนดไว้
4. R - Reasonable & Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็นไปได้จริง
5. T - Time Available จุดมุ่งหมายต้องมีกําหนดเวลา เป็นไปได้ตามเวลา เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือ สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ จุดมุ่งหมายก็ควรเปลี่ยนไปด้วย


การจำแนกจุดประสงค์การเรียนรู้

          ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
          คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นความสามารถทางสมอง หรือความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาหลักการหรือทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านนี้สามารถวัดได้จากการให้ผู้เรียนแจกแจงความรู้ เขียนรายการสิ่งที่รู้ยกตัวอย่าง ประยุกต์กฎต่าง ๆ ที่เรียนไป หรือวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นต้น พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยแบ่งไว้ 6 ขั้น ซึ่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป ต้องอาศัยระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเสมอ

ระดับพฤติกรรม
ตัวอย่างคำกริยาที่ใช้
1. ความรู้ความจำ ความสามารถในการจดจำสิ่งที่เรียนมาแล้ว อาจเป็นข้อมูลง่าย ๆ จนถึงทฤษฎี
บอกคุณสมบัติ จับคู่ เขียนลำดับ อธิบาย บรรยาย ขีดเส้นใต้ จำแนก ระบุ
2. ความเข้าใจ ความสามารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุป หรือขยายความ
แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง เรียบเรียง เปลี่ยน
3. การนำไปใช้ ความสามารถในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
แก้ปัญหา สาธิต ทำนายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ ปรับปรุง ผลิต ซ่อม
4. การวิเคราะห์ ความสามารถในการแยกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อยเหล่านั้นได้
เขียนโครงร่าง แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกต่าง บอกเหตุผล ทดลอง
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการรวบรวมส่วนย่อยๆ เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สร้าง ประดิษฐ์ วางหลักการ
6. การประเมิน ความสามารถในการวินิจฉัยคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
วัดผล เปรียบเทียบ ตีค่า ลงความคิดเห็น วิจารณ์

          ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
          คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นหนักในด้านความสนใจ เจตคติ ค่านิยม อารมณ์และความประทับใจซึ่งวัดได้โดยการสังเกต แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง การระบุพฤติกรรมที่คาดหวังให้ผู้เรียนแสดงออกนั้น ต้องอาศัยการรวบรวมพฤติกรรมที่ชี้ถึงความรู้สึก เจตคติและค่านิยมของตนเองและผู้อื่น แล้วนำมาใช้ในการกำหนดเป็นพฤติกรรมที่คาดหวัง พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยแบ่งไว้ 5 ขั้น

ระดับพฤติกรรม
ตัวอย่างคำกริยาที่ใช้
1. การรับรู้ การยอมรับความคิด กระบวนการ หรือสิ่งเร้าต่าง ๆ
เลือก ชี้ ติดตาม ยอมรับ
2. การตอบสนอง ความเต็มใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้
อภิปราย เลือก เขียนชื่อกำกับ
3. การเห็นคุณค่า ความรู้สึกนิยมพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดการปฏิบัติตามสิ่งที่นิยม
อภิปราย ริเริ่ม เลือก แสวงหา ประพฤติตาม นำมาใช้
4. การจัดระบบค่านิยม การนำเอาคุณค่าต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้มาผสมผสานและจัดระบบเข้าด้วยกันเพื่อเสริมสร้างระบบคุณค่าขึ้นภายในตนเอง
จำแนก จัดลำดับ จัดระเบียบ ผสมผสาน
5. การกำหนดคุณลักษณะ การนำค่านิยมที่จัดระบบแล้วมาปฏิบัติจนเป็นนิสัยเฉพาะตน
สนับสนุน ต่อต้าน ใช้เหตุผล แสดงออก ชักชวน

          ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
          คือจุดประสงค์การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางกาย เน้นหนักด้านการวางท่าทางให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานแต่ละชนิด สามารถระบุพฤติกรรมที่แสดงออกได้จากการตีความทักษะหรือการปฏิบัติออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งสังเกตได้จากความถูกต้องแม่นยำ ความว่องไว คล่องแคล่ว และสม่ำเสมอ พฤติกรรมตามระดับการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยแบ่งไว้ 5 ขั้น

ระดับพฤติกรรม
ตัวอย่างคำกริยาที่ใช้
1. การรับรู้ รับรู้ในสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ โดยผ่านประสาทสัมผัส
สังเกต รู้สึก สัมผัส ตรวจพบ
2. การเตรียมพร้อม การเตรียมตัวให้พร้อมทางสมอง ทางกายและจิตใจ
แสดงท่าทาง ตั้งท่าเข้าประจำที่
ระดับพฤติกรรม
ตัวอย่างคำกริยาที่ใช้
3. การปฏิบัติงานโดยอาศัยผู้แนะ/เลียนแบบ การทำตามตัวอย่าง การลองผิดลองถูก
เลียนแบบ ทดลอง ฝึกหัด
4. การปฏิบัติงานได้เอง / คล่อง ปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้อง เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ
สาธิต ผลิต แก้ไข ทำได้สำเร็จด้วยตนเอง ทำงานได้เร็วขึ้น
5. การปฏิบัติงานด้วยความชำนาญ / ทำงานใหม่ได้ ปฏิบัติงานด้วยความคล่องแคล่วเหมือนอัตโนมัติสามารถทำงานใหม่ได้
ทำงานด้วยความกระฉับกระเฉง จัดระบบ ควบคุมการทำงานแนะแนวทาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...