จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน
Haris
and Carr
(1996 รุ่งนภา นุตราวงศ์, ผู้แปล 2545
: 14-16) ให้คําจํากัดความของมาตรฐาน เนื้อหา(Content
standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน (student
performance standards) ดังนี้
มาตรฐานเนื้อหา
(content
standard) ระบุองค์ความรู้ที่สําคัญ ทักษะและพัฒนาการด้านจิตใจ
ดังนี้
1. องค์ความรู้ที่สําคัญ (essential knowledge) ระบุถึง
แนวความคิด ประเด็นปัญหา ทางเลือก กฎเกณฑ์ และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่างๆ ที่สําคัญ
2. ทักษะ (Skills) เป็นวิธีการคิด การทํางาน การสื่อสาร
และการศึกษาสํารวจ ตัวอย่างใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยาย และอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตีความ เปรียบเทียบ และสรุปผล เกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงอื่น
ๆ ในสังคม
3. พัฒนาการด้านจิตใจ (Habits of mind) การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งใน
โรงเรียนและนอกโรงเรียน มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใตของผู้เรียน
รวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้า การแสดงข้อมูล หลักฐานสนับสนุนความคิด
การอภิปรายโต้แย้ง และความพึงพอใจในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
มาตรฐานการปฏิบัติ
(student
performance standards) จะบอกถึงคุณภาพ โดยที่มาตรฐานเนื้อหาจะ
ระบุถึงสิ่งใดที่ผู้เรียนควรรู้และทักษะใดที่ผู้เรียนควรทําได้มาตรฐานการปฏิบัติจะบอกถึงระดับคุณภาพและระดับที่ผู้เรียนต้องรู้หรือต้องทําสิ่งนั้นได้
ตัวอย่าง
กรณีที่มาตรฐานเนื้อหาระบุว่า
ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจากสื่อ ภาพ และบทอ่านจากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
มาตรฐานการปฏิบัติ
อาจจะระบุว่า ผู้เรียนควรอ่านหนังสืออย่างน้อยที่สุด 25 เล่ม ต่อปี
เลือกอ่าน บทอ่านที่มีคุณภาพทั้งที่เป็นเรื่องอมตะ และเรื่องราวที่ทันสมัย
จากหนังสือวรรณกรรมสําหรับเด็ก หรือจาก แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น จาก นิตยสาร
หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน และสื่อเทคโนโลยี
Wiggins
(1994) จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ 4 กลุ่ม
คือ
1. มาตรฐานผลลัพธ์หรือผลกระทบ (Impact) เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการ
ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน เช่น
กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ ผู้ฟัง
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กําหนดเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
2. มาตรฐานกระบวนการ (Process)
เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิควิธีการที่เหมาะ
ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น มาตรฐานที่กําหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน
หรือให้ผู้เรียนใน สื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กัน
หรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหรือบ กฎเกณฑ์
3. มาตรฐานเนื้อหา (content) เป็นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ
ความคิดรวบยอด แนวความคิดและข้อมูลต่าง ๆ เช่น ผู้เรียนรู้สมบัติของสสาร
มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย และความต้องการของตลาด เป็นต้น
มาตรฐานที่แสดงกฎหรือรูปแบบ
(Rule
or form) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับสูตร กฎเกณฑ์ซึ่งมี รูปแบบเฉพาะ
ปริมาตร ปริมาณ อัตราส่วน ตัวอย่าง ผู้เรียนสร้างกราฟ
ซึ่งมีข้อมูลกํากับและใช้สีได้อย่าง ถูกต้อง มาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ต่าง ๆ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
การกําหนดมาตรฐานในหน่วยการเรียนให้มาจากหลายมาตรฐาน
จึงจะช่วยให้กิจกรรมการเรียน การสอนและการประเมินมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
การกําหนดมาตรฐานที่เป็นกระบวนการก็จะไม่มี ความหมายหากไม่มีเนื้อหา
หรือการกําหนดมาตรฐานที่เน้นเนื้อหาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ประโยชน์แก่ ผู้เรียนเท่าที่ควร
หากไม่มีการนํากระบวนการนําไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น