กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพ
ตามแนวคิด ของ มาร์ซาโน
การตั้งจุดมุ่งหมาย จุดประสงค์ (Setting objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์
มีดังนี้ 1) ตั้ง จุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2)
สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจ ตรงกัน 3)
เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่
4) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมใน
การตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ
จุดประสงค์การเรียนรู้และนําไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ
ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับทิม ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็น
ประโยชน์ต่อไป 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคํานึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจําเป็น
3) การให้ข้อมูลย้อนกล ควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1)
สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2)
แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3)
บ
ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1)
ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้ รอบรู้ 2) ให้การยกย่อง สําหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม
3) ใช้ - สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ
เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1)
ควรยึดหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ ทางบวกและการรับผิดชอบในความสําเร็จส่วนบุคคล
2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การเรียนรู้แบบ ร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนําและคําถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1)
ใช้เฉพาะประเด็นที่สําคัญ 2) ให้คําแนะนําที่ชัดเจน
3) ถามคําถามเชิงอนุมาน 4) ถามคําถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1)
ใช้การอธิบายในการสร้างมโน ทัศน์ล่วงหน้า 2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
3) ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ ล่วงหน้า 4) ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้
1)ใช้กราฟิกในการ - นําเสนอ 2) จัดกระทําหรือทําตัวแบบ
3) ใช้รูปแสดงความคิดนําเสนอ 4) สร้างรูปภาพ,
สัญลักษณ์
สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note taking) มีวิธีการดังนี้
1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการ บันทึก สรุป
ที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการสอน ซึ่ง กันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1)พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการมอบหมาย การบ้านของโรงเรียน 2) ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3)ให้ข้อมูลย้อนกลับในงาน
- ที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1)ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ - อย่างชัดเจน 2) ออกแบบการปฏิบัติที่ เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3) ให้ทํากิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้
1) วิธีการบอกความ เหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2)
แนะนํานักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกําหนดความเหมือนความแตกต่าง
3) ให้คําแนะนําที่ช่วยให้นักเรียน กําหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้
1) ให้นักเรียน -
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2)
การและให้นักเรียน - อธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป
Solo Taxonomy
ระบบความคิดของ MARZANO
และ SOLO TAXONOMY
Marzano นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง
เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000)
โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
และตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based instruction) รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
มาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้
ซึ่งทั้งหมดสำคัญสำหรับการคิดและการเรียนรู้ ระบบทั้งสามประกอบด้วยระบบตนเอง (self-system)
ระบบอภิปัญญา (metacognitive system) และระบบความรู้
(cognitive system) เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่
ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรมเช่นปัจจุบัน หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่
ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด
ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น
และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้
Solo Taxonomy
SOLO : The
Structure of Observed Learning Outcome คือ
โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ
ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น
ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น
สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ
การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์
เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล
และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ
จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น
การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น