วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้


การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
Joyce and Wei. 1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจํานวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนมุ่งเน้นการให้ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทําให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วย ให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียน การเรียนการสอนโดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้ง ทางด้านเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เสีย ประสบความสําเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสําเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจําเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าวแสดงความไม่พอใจหรือวิพากษ์ผู้เรียน

การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญๆ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนํา
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของ ผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละ ขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนําเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนําเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและ สกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนําเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่าง ประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคํานิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ - หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับ ให้การ เสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกํากับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการ | เรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสําเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และ ช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (Independent practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 85 - 90% แล้ว ผู้สอนควร ปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชํานาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่ จําเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทําติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้ง ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจํากัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตาม
ความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทําให้ผู้เรียนมีแรงจงใจในการเรียน
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน ( http://www2.southeastern.edu/Acader rhancock/theory.htm#DI) ได้แก่
1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2. การนําเสนอข้อมูลใหม่
3. การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มีส่วนร่วมใน การเรียนรู้ และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทง
ขั้นที่ 2 การนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคําถาม- ถามที่ละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนด ด้วยมีเครื่องมือจํากัด และคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตํารา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยําในการนําเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน

ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอแนะ ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทํางานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทํางานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคําถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ เป็นต้น

 การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Methods : CLM) มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง การเรียนรู้จากวิธีการนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้ คิดวิธีแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา และท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เชื่อว่า ความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม

การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Methods : CLM) เชื่อว่า ความรู้นั้นเป็น เรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน เพื่อนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สํารวจถึงความเป็นไปได้ วิธีคิดแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา และท้ายที่สุดคือเสนอวิธี แก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้างความต่อเนื่องระหว่างข้อมูลสนเทศใหม่กับความรู้เดิม การเรียนรู้ เป็นผลของการผลิตหรือสร้างสรรค์ทางปัญญา มนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด ถ้าหากได้ลงมือสร้าง ความหมายหรือความเข้าใจของตนด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนสร้างโครงสร้างความรู้หรือความ เข้าใจอย่างแข็งขันและมีเจตนามุ่งมั่นชัดเจน โดยผู้เรียนจะสลายความขัดแย้ง (Conflict Resolution) หรือความ ไม่เข้ากันของแนวคิดหรือข้อมูลต่าง ๆ โดยการพินิจพิเคราะห์คําอธิบายหรือเหตุผลเชิงทฤษฎี มนุษย์สร้างโลก ทัศน์ของตนเองขึ้นจากประสบการณ์จริงในเวลานั้น และโครงสร้างความรู้เดิมที่อยู่ในรูป schema มนุษย์ใช้ Schema ในการตีความหรือสร้างความหมายให้กับประสบการณ์หรือข้อมูลใหม่ เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะมี การปรับ Schema ให้มีความครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการตีความที่สูงขึ้น

ในเรื่องกระบวนการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสําคัญในฐานะผู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ โดยการสังเกต การวัดหรือประมาณการ การตีความ หรือการกระทํา เพื่อให้เธอ สร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งเหล่านั้น ผู้เรียนเป็นผู้สร้างแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง ดังนั้น Constructivist จึงเห็นคุณค่าของความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระในความคิดของผู้เรียน และให้ความสํา อิทธิพลของบริบทการการเรียนรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับความเชื่อและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...