ระบบความคิดของ MARZANO และ SOLO TAXONOMY
Marzano นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000)
โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
และตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based
instruction) รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
มาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้
ซึ่งทั้งหมดสำคัญสำหรับการคิดและการเรียนรู้ ระบบทั้งสามประกอบด้วยระบบตนเอง (self-system) ระบบอภิปัญญา (metacognitive system) และระบบความรู้
(cognitive system) เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่
ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรมเช่นปัจจุบัน หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่
ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด
ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น
และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้
Solo Taxonomy
SOLO
: The Structure of Observed Learning Outcome คือ
โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.
Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.
Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว
เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.
Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.
Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.
Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์
สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น