แนวคิดและหลักการของการประเมินการเรียนการสอน
ความหมายของการประเมินการเรียนการสอน
สรุปความหมายของการประเมิน (evaluation) ที่ มีผู้นิยามออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ
ลักษณะที่ 1 การประเมินในความหมายที่เป็นการดำเนินการที่ประกอบด้วยการวัด
(measurement) และการใช้ดุลยพินิจ (judgement) การประเมินในลักษณะนี้หมายถึง กระบวนการใช้ดุลยพินิจและ/
หรือค่านิยมและข้อจำกัดต่าง ๆ
ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการเปรียบเทียบผล
ที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ลักษณะที่ 2
การประเมิน หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศ (เชิงคุณค่า) เพื่อช่วย
ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพสูงสูด
ดังนั้นผู้ประเมินจึงต้องศึกษาความต้องการ
ของผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินอย่างครบถ้วนเพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการวางแผนการประเมิน
ไทเลอร์ (Tyler, อ้างถึงใน ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 206) นักการศึกษาคนส าคัญของ
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้บัญญัติศัพท์การประเมินผลเป็นครั้งแรกว่า “ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน” โดยได้เขียนหมายเหตุไว้ว่า
ในอนาคตควรนิยามการประเมินผลในเชิงระบบ ซึ่งต่อมาไทเลอร์ได้หมายถึง
การประเมินระบบการเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วยการประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียน การสอน
ความเหมาะสมของผลการเรียนรู้คือ สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กลยุทธ์การจัด
การเรียนการสอน พฤติกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน
บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนการสอน
ตลอดจนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ดังนั้นการประเมินการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึงในรายละเอียดในบทนี้จึงสอดคล้องกับแนวคิดของไทเลอร์
คือ การประเมินองค์ประกอบเชิงระบบของการเรียนการสอนที่ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) และการควบคุม (control)
วิธีการประเมินการเรียนการสอน
ในยุคแรก การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการวัด
และการวัดก็เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ต่อมา การประเมินได้รับการพัฒนาเป็นศาสตร์
ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างและส่วนที่เหมือนกับการวิจัย โดยที่การวัด
กลับเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2551, หน้า 22-23) ดังนั้นในการออกแบบ
การประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ต้องการนั้นจึงด้ำวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ
ที่นักวิจัยใช้ในการแสวงหา ความรู้ เช่น
การกำหนดปัญหาในการวิจัยหรือการตั้งคำถามวิจัย การสร้างกรอบความคิดเชิงทฤษฎี
การตั้งสมมติฐาน การออกแบบวิจัย การรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง
การวิเคราะห์ข้อมูลและ การตีความหมายข้อมูล เป็นต้น
นักทฤษฎีการประเมินแบ่งวิธีการประเมินเป็น
2 ขั้วที่ต่างกัน คือ วิธีเชิงระบบ และวิธีเชิงธรรมชาติ
ซึ่งทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันในด้านของเครื่องมือ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1) วิธีเชิงระบบ (systematic approach) เป็นการประเมินที่ยึดมาตรการเข้าถึงคุณค่า
และเกณฑ์ตัดสินคุณค่าตามแนวคิดปรัชญาปรนัยนิยม (objectivism) ซึ่งมีความเชื่อว่าวิธีเชิงระบบเป็น วิธีที่เหมาะสมในการประเมิน นักทฤษฎีในกลุ่มนี้พยายามเสนอรูปแบบการประเมินที่แสดงถึง
การวางแผนการดำเนินงานและวิธีดำเนินงานอย่างชัดเจน รัดกุมและเป็นระบบ
สนับสนุนการใช้เครื่องมือ ที่ได้มาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล
พยายามควบคุมสถานการณ์และตัวแปรแทรกซ้อนที่อาจส่งผล กระทบต่อผลการประเมิน ท าการวิเคราะห์ข้อมูลตามแผนการที่กำหนด
และสรุปผลการประเมินตาม เกณฑ์มาตรฐานที่ประกาศไว้ล่วงหน้า
2)
วิธีเชิงธรรมชาติ (naturalistic approach) เป็นการประเมินที่ยึดมาตรการเข้าถึง
คุณค่าและเกณฑ์ตัดสินคุณค่าตามแนวคิดปรัชญาอัตนิยม (subjectivism) ซึ่งมีความเชื่อว่าวิธีเชิง ธรรมชาติเป็นวิธีที่เหมาะสมในการประเมิน
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้พยายามเสนอรูปแบบการประเมินที่มี ลักษณะที่ยืดหยุ่น
สนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูลในสภาพธรรมชาติ โดยเน้นการสังเกตแบบไม่มี โครงสร้าง
พยายามวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยหลักการเชื่อมโยงเหตุผล การสังเกตและการวิเคราะห์
เบื้องต้นจะนำไปสู่การสังเกตและวิเคราะห์ในขั้นลึก ๆ ถัดไป
จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งที่ ประเมินโดยอาศัยความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นเกณฑ์สำคัญในการสรุป สำหรับการประเมินการเรียนการสอนนั้นจะใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันโดยใช้วิธีเชิงระบบเป็นหลัก
โดยอิงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ประเมินเป็นหลัก (gold-based) และข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ
การประเมินโดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์เป็นหลักและใช้วิธีเชิงระบบเพื่อให้ได้คำตอบที่
ถูกต้องเชื่อถือได้
ทำให้นักประเมินจำเป็นต้องจำกัดตัวแปรที่ศึกษาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่เป็น
วัตถุประสงค์หลักของการประเมินเท่านั้น โดยไม่นำปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อผลการประเมินแต่
ไม่ได้อยู่ในเป้าหมายของการประเมินมาพิจารณา
ดังนั้นวิธีเชิงธรรมชาติจึงนำมาใช้เพื่อเสริมจุดด้อยของวิธี เชิงระบบ
การประเมินด้วยวิธีเชิงธรรมชาติจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า
เป็นการประเมินที่เป็นอิสระจาก เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการประเมิน (gold-free) ข้อมูลที่รวบรวมเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ใช้
ในการตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งผลทางตรงและทางอ้อม
และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้
คาดหมายซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ
การใช้วิธีเชิงธรรมชาติจึงเป็นการตัดสินคุณค่าของ การเรียนการสอนนอกเหนือจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างรอบด้านและครอบคลุม
จุดมุ่งหมายของการประเมินการเรียนการสอน
ในปัจจุบันแนวคิดในการประเมินมุ่งเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงงานหรือโครงการที่วางแผน
ไว้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการหรืองานที่รับผิดชอบ
สำหรับ การประเมินการเรียนการสอนนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1)
การประเมินความต้องการจำเป็นทำให้ทราบว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง และมีความสำคัญ
ในลำดับก่อนหลังอย่างไร
2)
ช่วยในการตัดสินใจเลือกวิธีการในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล
ทำให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ
3)
ทำให้ทราบว่าการแก้ปัญหาบรรลุเป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการหรือไม่
4)
ช่วยตัดสินคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน
ประโยชน์ของการประเมินการเรียนการสอน
ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย ผู้เรียน ครู
ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์จากการประเมินการเรียนการสอน ดังนี้
1) ผู้เรียนได้รับประโยชน์ดังนี้
(1)
ช่วยพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในด้านความรู้และการปฏิบัติ
(2)
ได้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและตอบสนองความ
ต้องการของผู้เรียน
2) ครูได้รับประโยชน์ ดังนี้
(1)
รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการจำเป็น และสามารถจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของ
ปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้
(2)
ช่วยครูในการเลือกวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน
(3)
ช่วยครูในการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ
(4)
ช่วยให้ครูสามารถปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
3) ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง
ได้รับประโยชน์ ดังนี้
(1)
ช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบผลการดำเนินงานว่าอยู่ในสภาพใดเป็นที่น่าพอใจหรือไม่
(2)
ช่วยให้ผู้บริหารได้สารสนเทศในการวางแผนและพัฒนาการเรียนการสอน
(3)
ช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของโครงการว่าจะยุติหรือดำเนินการต่อไป
หรือไม่ อย่างไร
ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการประเมินการเรียนการสอน
การประเมินการเรียนการสอนเพื่อพิจารณาว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้บรรลุผลสัมฤทธิ์หรือไม่
ควรพิจารณาจากตัวชี้วัดที่สะท้อนคุณภาพหรือความสำเร็จของการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ
ด้านประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency)
(ศิริชัย กาญจนวาสี, 2552, หน้า 147-148)
ประสิทธิผล หมายถึง
การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนา นั่นคือ
ผลการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นผลผลิต ผลกระทบ ผลลัพธ์
ได้ผลตรงตามที่คาดหวังไว้และเป็นที่พึงพอใจ หรือไม่
ส่วนประสิทธิภาพ หมายถึง
ความสามารถของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการปฏิบัติงานใน
การสร้างผลผลิตซึ่งมีลักษณะที่สำคัญคือ การประหยัดหรือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ก่อให้เกิดผลสูงสุด และความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต ในการประเมินการเรียนการสอนนั้น
ตัวชี้วัดด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้จากการประเมิน ทั้งในระหว่างการดำเนินงานหรือการประเมินความก้าวหน้า
(formative evaluation) และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานหรือการประเมินผลรวม
(summative evaluation) ตัวชี้วัดทั้งสองได้มาจากการรวบรวม
ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างเป็นระบบ
ขอบเขตของการประเมินการเรียนการสอน
การประเมินการเรียนการสอนสามารถแบ่งตามจุดมุ่งหมายและกรอบระยะเวลาของการดำเนินงาน
ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (Smith & Ragan, 1999,
p. 338)
1.
การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินในระหว่างดำเนินงาน
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ในการปรับปรุง
แก้ไขจุดบกพร่องของการออกแบบการเรียน การสอน สิ่งที่ประเมิน ได้แก่
แผนการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ และพัฒนา
เพื่อดูความเหมาะสมและสอดคล้องขององค์ประกอบของการเรียนการสอนว่ามีความสัมพันธ์
เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบหรือไม่อย่างไร ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างไรเมื่อไปทดลองใช้
ก่อนจะนำไปใช้จริงกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย 2. การประเมินผลรวม (summative
evaluation) เป็นการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดย
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่า
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการ ทั้งหมดโดยภาพรวม
โดยพิจารณาจากประสิทธิผลและประสิทธิภาพของโครงการ
การประเมินความก้าวหน้า
การประเมินความก้าวหน้ามักจะดำเนินการโดยทีมผู้ออกแบบการเรียนการสอนและบุคคล
ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ได้แก่ ครู นักเรียน
และการรับฟังความคิดเห็นของผู้ประเมินจากภายนอก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการเรียนการสอน และผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ
ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา เป็นต้น การประเมินความก้าวหน้าประกอบด้วยขั้นตอนในการดำเนินการ
4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่ 1 การประเมินการออกแบบ
เป็นการประเมินก่อนเริ่มต้นโครงการพัฒนาการเรียนการสอน
ขั้นที่ 2 การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ
เป็นการประเมินหลังจากการพัฒนาการเรียนการสอน เรียบร้อย
ขั้นที่ 3
การประเมินโดยผู้เรียน เป็นการทดลองการเรียนการสอนที่ออกแบบและพัฒนากับ
ผู้เรียนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายหรือประชากร
ขั้นที่ 4 การประเมินต่อเนื่อง
เป็นการประเมินเพื่อติดตามผลกระทบต่อเนื่องจากการทดลอง
ใช้การเรียนการสอนโดยผู้เกี่ยวข้องและได้รับผลได้ผลเสียจากโครงการ
1. การประเมินการออกแบบ หมายถึง
การประเมินผลผลิต (output) ที่เกิดจากการ
ออกแบบการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นการวิเคราะห์
ผลการประเมินที่ได้ในขั้นนี้ คือ เป้าหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์ผู้เรียนและบริบทการเรียน การวิเคราะห์งาน เป็นต้น
ก่อนที่จะไปสู่ขั้นการ ออกแบบการเรียนการสอน ผลผลิตที่ได้ควรได้รับการตรวจสอบ ค
าถามที่ใช้เป็นแนวทางในการรวบรวม สารสนเทศในการประเมินในขั้นนี้ ได้แก่
1)
เป้าหมายการเรียนรู้ตอบสนองปัญหาที่วิเคราะห์จากความต้องการจำเป็นหรือไม่
2)
การวิเคราะห์ผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้มีความถูกต้องตรงตามเป้าหมายการ
เรียนรู้หรือไม่
3)
การวิเคราะห์งานได้ระบุความรู้และทักษะพื้นฐานที่ต้องมีมาก่อนซึ่งจำเป็นต่อการ
เรียนรู้เรื่องใหม่ที่เป็นเป้าหมายการเรียนการสอนที่กำหนดหรือไม่
ความรู้และทักษะพื้นฐานที่ระบุมีความ ถูกต้อง และเป็นตัวแทนที่แท้จริงหรือไม่
4)
แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อประเมินผลการเรียนรู้มีความตรงและความเชื่อมั่นตาม
จุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
5)
เครื่องมือการวัดประเมินผลผู้เรียนและเกณฑ์การประเมินสามารถจำแนกผู้เรียนได้อย่าง
แน่นอนหรือไม่
2. การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการออกแบบการเรียน
การสอน เช่น สื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียน
ควรนำสื่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของสื่อ
ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ประเมินควรมีอย่างน้อย 3 คน ได้แก่
ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน
ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้เรียนหรือครูผู้สอน
นอกจากนี้อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
และความชัดเจนของภาษาที่ใช้ใน สื่อการเรียนการ
สอน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอื่น ๆ
ที่จำเป็น เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ค
าถามที่ใช้เป็นแนวทางในการรวบรวมสารสนเทศในการประเมิน ได้แก่
1)
เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัยหรือไม่
2) ตัวอย่าง
แบบฝึกหัดมีความถูกต้องและสมจริงหรือไม่
3) แนวทางและวิธีการเรียนการสอนมีความเหมาะสม
สอดคล้องกับทฤษฎีหรือหลักการ เรียนรู้ตามธรรมชาติของเนื้อหาหรือไม่
4)
แนวทางและวิธีการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือไม่
5)
กลวิธีการเรียนการสอนที่ใช้สอดคล้องกับหลักการและรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้
หรือไม่
3. การประเมินโดยผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดในการประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้
หรือไม่จากการเรียนการสอนที่นำเสนอ
ก็คือการทดลองใช้กับผู้เรียนที่เป็นตัวแทนของประชากร กลุ่มเป้าหมาย
เพื่อศึกษาว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือไม่และประสบปัญหาอะไรในการเรียนรู้ การ
ประเมินโดยผู้เรียนจะท าใน 3 ลักษณะ ได้แก่
3.1 การประเมินแบบ 1:1 (one-to-one evaluation) หมายถึง
การประเมินที่ผู้ประเมิน ท าการประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครั้งละ 1 คน
แบบตัวต่อตัว ผู้เรียนที่ร่วมในการประเมินนี้ควรมี
ลักษณะที่เป็นตัวแทนของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และมีจำนวนอย่างน้อย 3 คน
คือผู้เรียนที่เป็น ตัวแทนของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำปานกลาง และสูง
ตามลำดับ สารสนเทศที่ต้องการในขั้นนี้คือ การค้นหาข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
และสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ค าถามที่ใช้เป็น
แนวทางในการรวบรวมสารสนเทศในการประเมิน ได้แก่
1)
ผู้เรียนเข้าใจภาษาที่สื่อสารในการเรียนการสอนได้ชัดเจนหรือไม่
2)
ผู้เรียนรู้หรือไม่ว่าจะต้องทำอะไรในระหว่างฝึกปฏิบัติและทดสอบ
3)
ผู้เรียนเข้าใจภาพที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอนได้ตรงกับที่ผู้ออกแบบต้องการ
สื่อสารหรือไม่
4)
ผู้เรียนสามารถอ่านข้อความที่ปรากฏในสื่อการเรียนรู้ได้ถูกต้องครบถ้วน หรือไม่
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดลอง
สอนและใช้สื่อการเรียนการสอนและพยายามซักถามคำถามจากผู้เรียนเพื่อหาคำตอบในการแก้ไขปัญหาที่
พบ การซักถามนี้ควรกระทำหลังจากการทดลองได้เสร็จสิ้นแล้ว
เพื่อมิให้เป็นการขัดจังหวะการทดลอง สอนและใช้สื่อการเรียนการสอน
3.2 การประเมินกลุ่มเล็ก (small
group) หมายถึง การประเมินการเรียนการสอนกับ
ผู้เรียนกลุ่มเล็กซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มเป้าหมาย ขนาดของกลุ่มคือประมาณ
8-12 คน เป็นการ ทดลองหลังจากที่ได้นำข้อบกพร่องที่พบในการประเมินแบบ 1:1
มาปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบว่าผลการปรับปรุงการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนหลังการนำไปใช้
กับกลุ่มเล็กมีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ ค
าถามที่ใช้เป็นแนวทางในการรวบรวมสารสนเทศในการประเมิน ได้แก่
1) ผู้เรียนมีความรู้
ทักษะพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้หรือไม่
2) ถ้าผู้เรียนมีความรู้
ทักษะพื้นฐานอยู่แล้ว ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการ เรียนรู้หรือไม่
ถ้าไม่ประสบความสำเร็จจะต้องปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างไร
3) ถ้าผู้เรียนไม่มีความรู้
ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ ผู้เรียนขาดความรู้ ทักษะ พื้นฐานในเรื่องใด
4) ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในเรื่องใด
5)
ในการจัดการเรียนการสอนให้เสร็จสมบูรณ์จะต้องใช้เวลานานเท่าใด
6)
ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับการเรียนการสอน ถ้าผู้เรียนมีความรู้สึกในด้าน
ลบจะมีผลต่อการปฏิบัติของผู้เรียนหรือไม่
7) จำเป็นต้องปรับปรุงสิ่งใดเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
8)
ผลการปรับปรุงภายหลังการทดลองใช้แบบ 1: 1 ได้ผลน่าพอใจหรือไม่
9)
มีปัญหาและข้อบกพร่องของสื่อการเรียนการสอนเพิ่มเติมอีกหรือไม่
ในการทดลองกับกลุ่มเล็ก
ผู้ประเมินจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่เหมือนการใช้จริงทุกประการ
โดยจัดให้มีการวัดผลก่อนเรียน (pretest) เพื่อวัดความรู้
ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ และวัดผลหลังการเรียนเสร็จสิ้นแล้ว (posttest) หากเกรงว่าการทดสอบจะ ทำให้ผู้เรียนอ่อนล้า
ควรทำการทดสอบหนึ่งวันก่อนจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแผนการเรียนการสอนที่ได้
ออกแบบไว้ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนท
าหน้าที่สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดลองโดยไม่แทรกแซง
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
นอกเสียจากผู้สอนไม่สามารถดำเนินการต่อถ้าไม่เข้าช่วยเหลือ ในขั้นนี้
หากเป็นไปได้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรมีการบันทึกเทปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถย้อนกลับ
มาดูใหม่ได้ ควรมีการบันทึกเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
หลังการทดลองจะต้องมีการอภิปรายร่วมกับ ผู้เรียนเพื่อหาข้อบกพร่องที่พบในการทดลอง
3.3 การประเมินภาคสนาม (field trials) หมายถึง
การประเมินการเรียนการสอนกับ ผู้เรียน
ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มเป้าหมายในสภาพแวดล้อมที่ใช้จริง
โดยจุดมุ่งหมายของการ ประเมินภาคสนาม คือ
1)
การตรวจสอบประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนภายหลังจากที่ได้นำ
ข้อบกพร่องที่พบในการประเมินแบบกลุ่มเล็กมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปทดลองใช้
ภาคสนาม
2)
เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและใช้สื่อการเรียนการ
สอนในสภาพแวดล้อมจริง
3)
ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจในประสิทธิผล
และประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
4) นำผลการทดลองใช้มาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการ
สอนให้มีความสมบูรณ์ในขั้นสุดท้ายก่อนที่จะนำไปใช้จริง
การประเมินภาคสนามนี้ผู้ประเมินจัดสภาพการทดลองให้อยู่ในบริบทที่นำไปใช้
จริง
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนที่เป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในการทดลอง
ภาคสนามอย่างน้อย 1 กลุ่ม หรือมากกว่านั้น โดยมีจำนวนผู้เรียนในกลุ่ม 30 คน
เป็นอย่างน้อยในแต่ละ ครั้งของการทดลอง
ผู้ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนโดยปกติคือครูผู้สอน ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมี
หน้าที่สังเกตและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดลอง เพื่อตรวจสอบว่าการทดลองเป็นไป
ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ ผู้ออกแบบท าหน้าที่ประสานงาน
รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือที่พัฒนาให้มี คุณภาพและสะดวกต่อการใช้งาน
เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ท าการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมได้ในระหว่างการทดลองแล้ว ผู้ออกแบบการทดลองยังเก็บข้อมูลเพิ่มหลังการ
ทดลองด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สอบถามความคิดเห็นของครูและผู้เรียนเพิ่มเติม ค
าถามที่ใช้เป็นแนวทางใน การรวบรวมสารสนเทศในการประเมิน ได้แก่ 1)
การเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ตามที่ได้
ออกแบบไว้หรือไม่
2) ปัญหาที่ประสบในการจัดการเรียนการสอนมีอะไรบ้าง
3) ผู้สอนสามารถดำเนินการน
าเสนอสารสนเทศตามที่ได้ออกแบบไว้ได้อย่าง สะดวก ราบรื่นในการใช้หรือไม่
4)
ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้หรือไม่
5)
เวลาที่กำหนดไว้ในการเรียนการสอน/การใช้สื่อการเรียนการสอนมีความ
เหมาะสมพอเพียงหรือไม่
6)
ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับการเรียนการสอน/สื่อการเรียนการสอน
7) ผลการปรับปรุงภายหลังการประเมินแบบกลุ่มได้ผลน่าพอใจหรือไม่
8)
ผู้สอนรู้สึกอย่างไรกับการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน
9)
ผู้สอนและผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่ได้ออกแบบไว้ หรือไม่
10) ผู้สอนได้เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงการเรียนการสอนอะไรบ้าง
4. การประเมินต่อเนื่อง (ongoing
evaluation) การประเมินผลเพื่อพัฒนานี้จะดำเนินการ
อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการทดลองการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับ
กลุ่มเป้าหมายแล้วก็ตาม โดยเฉพาะโครงการออกแบบการเรียนการสอนขนาดใหญ่
การทดลองใช้กับ
กลุ่มเป้าหมายอาจกระทำต่อเนื่องหลายครั้งในบริบทการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป
เพื่อน า ข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนและสื่อจนกว่าจะมีความมั่นใจว่าการเรียนการสอนหรือสื่อ
ที่พัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพในการนำไปใช้ได้จริง ในการวางแผนการประเมินความก้าวหน้า
ผู้ออกแบบควรตั้งคำถามเพื่อเป็นแนวทางสำหรับ การค้นหาคำตอบ ดังนี้
1) ใครเป็นผู้ประเมิน
2) จะใช้เกณฑ์อะไรในการประเมิน
3) จะรวบรวมข้อมูลและสรุปข้อมูลอย่างไร
4) จะประเมินเมื่อไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น