วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

Performance-Based


การประเมินการปฏิบัติ ชิ้นงาน( Performance-Based / Task-Based Assessment )
เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สามารถวัด ตรวจสอบหรือประเมินผลการเรียนจากการเป็นการให้นักเรียนได้แสดงความรู้ความสามารถที่ได้รับว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย การประเมินการปฏิบัติเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถและทักษะตลอดจน ลักษณะนิสัยในการเรียนของผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลที่รวบรวมมาใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้หรือไม่ ลักษณะการประเมินจะประเมินผ่านการพูด การแสดงท่าทาง การสาธิต การทดลอง การแสดงบทบาทสมมติ และอื่นๆ ซึ่งทำให้ผู้ประเมินสามารถใช้การสังเกตเพื่อ ตรวจสอบสิ่งที่ผู้เรียนแสดงออกมาว่ามีความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมาย ผู้สอนสามารถบูรณาการ Performance-based Assessment ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเรียน
นอกจากนี้ การประเมินผลรูปแบบนี้จะประเมินโดยใช้เกณฑ์รูบิกส์ (Rubics) นั้นเราสามารถศึกษาเกณฑ์การประเมินโครงงานของผู้เรียน ศึกษาวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความหลากหลายของผลงานในโครงงาน เช่น การสาธิต การนำเสนอ การคิดวิเคราะห์ และคุณภาพของแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนในการสร้างรูปแบบของ Performance-based Assessment task 5 ขั้นตอน คือ
1. ระบุความคิดรวบยอดหลักและทักษะการคิดที่ต้องการวัดผล
2. ระบุชนิดของผลงานที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ โดยที่อาจจะให้นักเรียนเป็นผู้เลือก
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของผลงานที่จะทำ เช่น ให้ข้อมูล โน้มน้าว หรือ กระตุ้น
4. เขียนกระบวนการที่นักเรียนจะใช้
5. ให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการวัดผลอธิบายเกี่ยวกับรายการที่จะใช้ประเมิน
ขั้นตอนในการวัดผลแบบ Performance-based Assessment
1. การระบุวัตถุประสงค์ของ Performance-based Assessment
ในการดำเนินการวัดผลที่ดี ควรมีการระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน โดยควรศึกษาประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความคิดรวบยอด ทักษะ หรือความรู้ใดที่ต้องการวัด
2. ผู้เรียนควรรู้สิ่งใดบ้าง
3. ผู้เรียนควรปฏิบัติงานในระดับใด
4. ความรู้ชนิดใดที่ควรวัดผล: การให้เหตุผล ความจำ หรือ กระบวนการ

2. การเลือกกิจกรรม
หลังจากระบุวัตถุประสงค์ของการวัดผล เราสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกกิจกรรมต่างๆได้โดยคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ ระยะเวลา แหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพของปฏิบัติงาน มีกิจกรรมอยู่สองประเภทที่เหมาะสมในการเลือกกิจกรรม คือรูปแบบเป็นทางการซึ่งผู้เรียนจะตระหนักว่ากำลังถูกวัดผลอยู่และไม่เป็นทางการซึ่งผู้เรียนนั้นจะไม่ทราบเลยว่ากำลังถูกวัดผลอยู่

3. การระบุเกณฑ์การวัดผล
เมื่อสามารถเลือกกิจกรรมและชิ้นงานได้แล้วนั้น เราจำเป็นต้องระบุองค์ประกอบของโครงงานหรือชิ้นงานที่ตัดสินความสำเร็จของการปฏิบัติงานของนักเรียน บางครั้งเราอาจจะสามารถหาเกณฑ์ในการประเมินโดยใช้หลักสูตรพื้นฐานหรือหลักสูตรท้องถิ่น หรือเอกสารที่เผยแพร่ แต่เราควรตระหนักว่าเกณฑ์การวัดผลนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนหรือมีทักษะมากเกินไป

4. การสร้างRubricsของการปฏิบัติงาน
Rubrics เป็นระบบจัดลำดับที่ผู้สอนสามารถตัดสินใจได้ว่าผุ้เรียนจะสามารถแสดงชิ้นงานและแสดงความคิดรวบยอดของความรู้ที่ได้รับ ในการใช้Rubricsเราจำเป็นต้องแน่ว่าเกณฑ์Rubricsของเรานั้นง่ายและยุติธรรม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การวัดผลการปฏิบัติงาน
มีหลายวิธีที่จะบันทึกผลของ Performance-based Assessment
- Checklist Approach เมื่อใช้วิธีการนี้ เราเพียงแต่ระบุว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีอยู่ในการปฏิบัติงาน
- Narrative / Anecdotal Approach เขียนเป็นคำบรรยายว่าผู้เรียนทำอะไรในการปฏิบัติงาน จากรายงานนี้
ครูจะสามารถตัดสินใจได้ว่านักเรียนจะสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอย่างไร
- Rating Scale Approachสามารถระบุระดับของมาตรฐาน โดยใช้เป็นสเกลตัวเลข
- Memory Approach สังเกตผู้เรียนโดยมิได้จดบันทึกแต่ใช้การจดจำเพื่อตัดสินใจว่าผู้เรียนประสบ
ผลสำเร็จหรือไม่ (วิธีการนี้ไม่เป็นที่แนะนำ)
- Open-ended or extended response exercises การตั้งคำถามหรือระบุปัญหาที่ให้นักเรียนคิดหาคำตอบ
ออกมาด้วยวาจา หรือเขียนตอบออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ในวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้อง
สามารถอธิบายในสิ่งที่ได้จากการสังเกต หรือ การอ้างเหตุผลของที่มาของเรื่องราวต่างๆได้
- Extended tasks ในการตรวจประเมินผลงานแต่ละงานอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณา ในการตรวจสอบ
แก้ไขหรือ พิจารณาความถูกต้องให้ตรงตามมาตรฐานที่ตั้งไว้
- Portfolios เป็นการประเมินความหลากหลายของงาน โดยPortfolio จะเป็นการรวบรวมผลงานที่ดีที่สุด
ของนักเรียนมาไว้ รวมถึงกระบวนการขั้นตอนการทำงานต่างๆของนักเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...