วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

แผนการจัดการเรียนรู้

ภาคผนวก






















ภาคผนวก









































The Structure of Observed Learning Outcome

The Structure of Observed Learning Outcome

คำสำคัญ (Key word)
·       SOLO
·       Taxonomy
                SOLO: The Structure of Observed Learning Outcome คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
                Taxonomy มีความหมายเดียวกับคำว่า Classification คือ การจัดแบ่งประเภท แต่ Taxonomy นั้น จะกล่าวถึง หลักทางวิชาการที่ใช้เพื่อระบุประเภทของสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีลักษณะร่วมกันและทำการกำหนดชื่อให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นๆ    
                หากกล่าวถึงการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
                SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือJohn B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
                แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น


รูบริค (Rubric)


รูบริค (Rubric)
           เกณฑ์การให้คะแนนผลงาน  (Scoring Rubric) เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการประเมิน
ผลงานของนักเรียนเรียกว่า “รูบริค” (Rubric )  ดังนั้น รูบริค ก็คือ แนวทางการให้คะแนนซึ่งต้องกำหนด
มาตรวัด (Scale) และรายการของคุณลักษณะที่บรรยายถึงความสามารถในการแสดงออก หรือคุณลักษณะแต่ละจุดในมาตรวัดไว้อย่างชัดเจน 
    ประโยชน์ของแนวทางการประเมินผลงาน มีหลายประการดังนี้
(ชัยฤทธิ์  ศิลาเดช. 2540 : 28-32)
         1. ช่วยพัฒนาผลงานของนักเรียน ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการติดตามการพัฒนาผลงาน
ของนักเรียนเองด้วย  เพราะรูบริคบอกไว้ชัดเจนว่า ครูคาดหวังอะไรและนักเรียนจะรู้ได้ว่าจะก้าวไปถึง
ความคาดหวังนั้นได้อย่างไร
         2. ช่วยให้นักเรียนหัดใช้ความคิดในการพิจารณาคุณภาพงานของตนเองและผู้อื่นจากการใช้
รูบริค ประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน การฝึกให้ทำงานหลาย ๆ  ครั้งจะช่วยให้นักเรียนเป็นคนที่มี
ความรับผิดชอบต่องานของตนเอง
         3. ช่วยลดเวลาที่ครูต้องใช้สำหรับการประเมินงานนักเรียน  เพราะหลังจากนักเรียนประเมิน
ตนเองและให้เพื่อนประเมินโดยใช้รูบริคแล้ว ครูมักพบว่าสิ่งที่ครูต้องปรับปรุงนั้นเหลือไม่มาก
         4. ครูสามารถปรับรูบริคให้เหมาะกับการประเมินผลงานของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ ที่ต่างกันมาก เช่นเด็กปัญญาเลิศ กับ เด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญาแต่อยู่ห้องเดียวกัน
         5. เป็นสิ่งที่ใช้ง่าย และอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายเช่น เมื่ออธิบายให้ผู้ปกครองทราบเขาจะรู้
ได้ทันทีว่าลูกของตนจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อจะประสบผลสำเร็จ


Evidence-Based


การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์
(Evidence-Based Practice: EBP)
 
        การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสุขภาพ ในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) ซึ่งจากประสบการณ์การเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการวิจัยด้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ “ The 19th International Conference on Health Promoting Hospitals and Health Services” ที่เมืองตูรุกุ ประเทศฟินแลนด์  ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2554  และด้านการพยาบาล “ 41st Biennial Convention, Sigma Theta Tau International” ที่เมืองเกรปไวน์ รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา  ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน 2554    พบว่ามีการกล่าวถึงความสำคัญและการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดำเนินงานของบุคลากรสุขภาพทุกวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล นักสาธารณสุข ฯลฯ ที่ส่งผลดีต่อคุณภาพบริการและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชาชน  ในบทความนี้จึงต้องการกล่าวถึงความหมาย ความสำคัญและกระบวนการการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งบทสรุปแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในบุคลากรด้านสุขภาพของประเทศไทย
1. ความหมายของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 
        ความหมายของคำว่า การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice: EBP) ที่ใช้กันส่วนใหญ่มีที่มาจาก  Dr. David Sackett ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยให้นิยามว่า “เป็นการตัดสินใจวิธีการรักษาหรือดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่ดีที่สุดซึ่งมีความชัดเจน และมีเหตุมีผล ที่มีอยู่ในขณะนั้นอย่างรอบคอบ”  (Sackett D, 1996)
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ นี้เป็นวิธีการบูรณาการความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านสุขภาพ ค่านิยมของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ กับหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีที่สุด ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจกระบวนการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ โดยความเชี่ยวชาญของบุคลากรสุขภาพ เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์จากการทำงาน การศึกษาและฝึกอบรมทักษะการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ในขณะที่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดสิ่งที่ตนให้ความสำคัญ/คาดหวังและเห็นว่ามีคุณค่า  ส่วนหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีที่สุด จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยใช้วิธีการศึกษาอย่างเป็นระบบ ดังภาพ

ภาพที่ 1  องค์ประกอบของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 
ที่มา: Schardt, C. and Mayer, J. 2010
2. ความสำคัญของการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ Why Evidence Based Practice or EBP?  
        It is one step toward making sure each client gets the best service possible.          การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ Why Evidence Based Practice or EBP?  นับเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จะทำให้แน่ใจว่าผู้ป่วยหรือผู้รับบริการแต่ละคนจะได้รับบริการที่ดีที่สุด
การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ช่วยให้บุคลากรด้านสุขภาพสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ของตน ร่วมกับWhy Evidence Based Practice or EBP?หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีที่มีอยู่ในขณะนั้น มาใช้ Why Evidence Based Practice or EBP?ในการตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ ซึ่งสามารถประหยัดเวลาและที่สำคัญที่สุดสามารถปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพ และส่งผลดีต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประชาชนผู้รับบริการ

Some say it's unethical to use treatments that aren't known to work.3. กระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์  (The EBP Process) 
          กระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์  สามารถแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังภาพที่ 2 ได้แก่ 
The Steps in the EBP Process
ASSESS
the patient
1. Start with the patient -- a clinical problem or question arises from the care of the patient
ASK
the question
2. Construct a well built clinical question derived from the case 
ACQUIRE
the evidence
3. Select the appropriate resource(s) and conduct a search
APPRAISE
the evidence
4. Appraise that evidence for its validity (closeness to the truth) and applicability (usefulness in clinical practice)
APPLY:
talk with the patient
5. Return to the patient -- integrate that evidence with clinical expertise, patient preferences and apply it to practice
Self-evaluation
6. Evaluate your performance with this patient
ภาพที่ 2 ขั้นตอนในกระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์
ที่มา: Schardt, C. and Mayer, J. 2010
3.1 การประเมินผู้ป่วย/ผู้รับบริการ (Assess the patient) เริ่มจากการประเมินปัญหาของผู้ป่วย หรือกำหนดปัญหาจากการดูแลผู้ป่วยหรือการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
3.2 การตั้งคำถาม (Ask the question) เป็นการตั้งคำถามเพื่อใช้ในการหาคำตอบต่อปัญหาในข้อ 2.1 ซึ่งอาจเป็นคำถามเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ดีที่สุด ในด้านการวินิจฉัยโรค วิธีการรักษา การพยากรณ์โรค ต้นเหตุของการเกิดโรคและการป้องกัน ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เป็นต้น
3.3 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ (Acquire the evidence) เป็นการเลือกแหล่งสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ใช้เว็บไซต์  PubMed  และทำการค้นคว้า/ศึกษาวิจัยด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการศึกษาวิจัยมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีความแม่นตรงและความลำเอียงของหลักฐานเชิงประจักษ์นั้นแตกต่างกัน ดังภาพที่ 3 เป็นปิรามิดแสดงลำดับชั้นของวิธีการศึกษาวิจัย โดยด้านฐานของปิรามิดจะเป็นการศึกษาที่เริ่มจากความคิดหรือวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ทำกับสัตว์ทดลอง และชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการรายงานกรณีศึกษา การศึกษาแบบ Case Control การศึกษาแบบติดตามระยะยาว การทดลองโดยสุ่มตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ส่วนที่ยอดปิรามิด คือ การสังเคราะห์งานวิจัย ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการศึกษาที่ให้ผลแม่นตรงมากที่สุด และมีความลำเอียงน้อยที่สุด



ภาพที่ 3 ปิรามิดของวิธีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานเชิงประจักษ์
ที่มา: Schardt, C. and Mayer, J. 2010
3.4 การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ (Appraise the evidence) เป็นการประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้านความแม่นตรงและความสามารถในการประยุกต์ใช้ได้จริง
3.5 การนำไปใช้ (Apply: talk with the patient) เป็นขั้นตอนที่บุคลากรด้านสุขภาพนำหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ผ่านการพิจารณาว่าดีที่สุดไปใช้ในการดูแล/ให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยสิ่งนั้นต้องตรงกับความต้องการของผู้ป่วย/ผู้รับบริการด้วย
3.6 การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นตอนที่บุคลากรสุขภาพประเมินผลการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ เพื่อที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา หรือยึดเป็นแนวปฏิบัติหรือมาตรฐานการปฏิบัติต่อไป

บทสรุป
          จากการกล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ และกระบวนการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ จะเห็นได้ว่าแนวคิดและแนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ ตลอดจนการพัฒนาของแต่ละวิชาชีพในวงการด้านสุขภาพ ทั้งนี้จากการได้อ่านวารสารต่างประเทศจะพบว่าบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในปัจจุบันจะมีลักษณะที่เป็นการศึกษาแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) และการสังเคราะห์งานวิจัย (Meta-Analysis) จำนวนมาก ซึ่งจากการจัดลำดับตามปิรามิดจะถือว่าผลการศึกษาทั้งสองแบบดังกล่าวมีความแม่นตรงมาก  และมีความลำเอียงน้อย  เนื่องจากเป็นวิธีการศึกษาที่นำผลการวิจัยที่ตีพิมพ์หรือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทำการศึกษาในประเด็นคำถามที่สนใจในหลากหลายกลุ่ม และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ ทำให้ได้ข้อสรุปหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดเป็นแนวปฏิบัติได้ เมื่อเปรียบเทียบกับงานตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นงานวิจัยในแต่ละกลุ่ม เป็นกรณีศึกษา หรือเป็นแบบ Case Control หรือแบบทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากงานวิจัยที่เน้นวิธีการวิจัยที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ยังมีไม่มาก อีกทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยยังมีน้อย การสืบค้นวรรณกรรมการวิจัยยังมีข้อจำกัด รวมทั้งยังขาดทีมที่มีความพร้อมด้านเวลา ทักษะ และทรัพยากรในการทำการศึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ แนวทางการพัฒนาในอนาคตสำหรับประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัด ควรเริ่มจากบุคลากรด้านสุขภาพควรอ่านทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีหลักในการพิจารณาคุณภาพและความน่าเชื่อของผลการวิจัย เพื่อที่จะได้นำองค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมการวิจัยที่น่าเชื่อถือมาประยุกต์ในการทำงาน รวมทั้งทำการวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยที่ผ่านมา  หรือนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาพัฒนาเป็นแนว/มาตรฐานการปฏิบัติ โดยมีการประเมินผลการใช้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ทั้งสถานบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษา ฯลฯ ควรมีระบบการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรด้านสุขภาพยึดหลักการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดทีมวิจัย มีการพัฒนาทักษะการทำวิจัย มีทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่การวิจัย  รวมถึงมีระบบการให้รางวัลและแรงจูงใจในการทำวิจัยและการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ อย่างเหมาะสม


สรุป


สรุป
           การประเมินเงินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสําคัญที่สุดคือ การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอน นั้นประสบผลสําเร็จ โดยดูจากผู้เรียนมีความรู้ และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ กล่าวได้ว่า โปรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใด อีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการ สอนที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนรู้ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัด กล่าวได้ว่าการจัดการ เรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใด การประเมินคุณภาพภายใน เป็นการประเมินให้ ความสําคัญที่กระบวนการ(process) การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือ การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และปรับปรุงสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคําถามว่า การ จัดการเรียนการสอนประสบความสําเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกําหนด ไว้หรือไม่ คําถามหลัก คือ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่ กระบวนการมี ขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรค เพื่อนําไปเป็นข้อมูลสําคัญสําหรับผู้บริหาร ได้พัฒนาในโอกาสต่อไป

การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The SOLO taxonomy
The SOLO taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆ กันของคําถามและคําตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็น ผลงานของ Biggs and Collis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, 19 ระบบที่นํามาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีควา หลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการ ปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
SOLO Taxonomy คือ การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ สิ่งที่สําคัญประการหนึ่งคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดย Biggs และ Collis
The SOLO taxonomy เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and Colis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบาย ว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงาน ทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการ เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ SOLO taxonomy จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจาก หลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น แนวคิดดังกล่าวถูกนําไปกําหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนําไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมิน ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่ง ความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้าง เดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของ โครงสร้าง (Relational Level) และ(5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs และ Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้ 1) กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน (To set learning objectives appropriate to where a student should be at a particular stage of their program) และ2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน (To assess the learning outcomes attained by each student) เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่า คํากริยาที่นํามาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับ ดังนี้
·        ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) นักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วน ๆ ที่ไม่ ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูล และความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
·        ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่ แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
·        ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชนิดเข้า ด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
·        ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความ เกี่ยวโยงของข้อมูลได้ ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
·        ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) ผู้เรียน เชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสําคัญ และแนวคิดที่ ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คําถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน



ประเด็นสําคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy

           การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
           ในการสอนครผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ แรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
           ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะ ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
           การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสําคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ตามความสามารถ (แทน สิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี) และการสร้าง แรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนําไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
           • ทําให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning) ผลผลิต
(Outcomes)
           • การทดสอบสมรรถนะ  »  ILO's  » การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
           SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นํามาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตร และรายวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
           การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
           SOLO 4: การพูดอภิปราย สร้างทฤษฎี ทํานายหรือพยากรณ์
           SOLO 3: อธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
           SOLO 2: บรรยาย รวมกัน จัดลําดับ
           SOLO 1 : ท่องจํา ระบุ คํานวณ
        บทบาทของการสอบ
        “การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสําคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการ ทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
               ทฤษฎีการวางแผน (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
               ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)

           ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด การสอบคล้ายกับ การปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้าย เป็นการสร้าง แรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการ สอนของครูผู้สอน
           การจัดลําดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Bloom Taxonomy 1956) เมื่อนํามาสัมพันธ์ กับแนวคิด SOLO Taxonomy ของ Biggs & Collis 1982)
           SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นความรู้ (จํา) ความเข้าใจ และการนําไปใช้ ข้อมูลเชิงปริมาณ
           SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า - ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง การกําหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
           ระดับ SOLO 1 หมายถึง การเลียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม (Imitative Maintenance) การเขียน แผนจะยึดตําราเป็นหลัก ทําแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ํา ๆ เดิม ใช้สื่ออุปกรณ์สําเร็จรูป ไม่มีการ ประเมินการใช้จริง
           ระดับ SOLO 2 หมายถึง การปรับประยุกต์ใช้ (meditative) การนําแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้น มีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง(real world) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อย คํานึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
           ระดับ SOLO 3 หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative) การเขียนแผนที่คํานึงถึง พฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จะเขียนแผนแนวทางมหภาค ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ การสอน เน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
           ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการ เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับต่ํา/ปรับปรุง
           ค่าเฉลี่ย 1.50 2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดกา เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับปานกลาง/พอใช้
           ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการ เรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับสูงดี



การประเมินคุณภาพภายนอก


3. การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การ ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทําโดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสําคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้ สํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน), 2550)
1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาตนเอง ให้เต็ม ตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เพิ่มความมั่นใจ และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่า สถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็น คนดี มีความสามารถ และ มีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กํากับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้น สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วย ตัดสินใจในการวางแผน และดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสําคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ คุณภาพและ มาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายทางการศึกษาและ การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) http://www.onesqa.or.th/th/index.php กําหนดหลักการสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งมีหลักการ สําคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง (evidence-based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกํากับ
ควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมี ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (สํานักงานรับรอง มาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดําเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมิน คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กําหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของ สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสําเร็จ
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ สถานศึกษา และ หน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ และประกันคุณภาพภายใน อย่าง ต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต่อ หน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดและได้รับการ รับรอง จากสมศ. ให้ทําการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสําหรับการส่งเสริม กํากับดูแล ตรวจสอบประเมินผล และ การประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประเมินคุณภาพภายใน
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายในโปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) เป็นวิธีการประเมินที่นําไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดําเนินการ การประเมินเน้นที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนําไปใช้กับผู้เรียน โดยทั่วไป ในการประเมิน จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยกําหนดจุดมุ่งหมายคือ การจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียน การสอนนั้นประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบว่า การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นพัฒนาผู้เรียนได้จริง ถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียน การสอนคล้ายๆ กัน อาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตาม จุดมุ่งหมาย ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดําเนินการได้ทันท่วงที การประเมินนี้จึงมีบทบาทสําคัญต่อความสําเร็จของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp : 1971) เสนอแนะการ ประเมินไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้ หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นที่ยอมรับของผู้สอน หรือไม่
4. กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5. วัสดุต่าง ๆ สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้ หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และวิธีการประเมินผล อย่างไรบ้าง
7. ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเอง และข้อสอบหลังจากเรียนแล้ว ใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียน ได้หรือไม่
8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่นๆ)
การประเมินภายนอก
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า ว่า การประเมินคุณภาพภายนอก (External evaluation) เป็นการประเมิน หลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอน เพื่อนําผลการประเมินไปใช้ในการตัดสิน โปรแกรมการเรียนการสอน ให้ความสําคัญที่ผลลัพธ์ (Outcome) โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผล ของระบบโดยรวม เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคําถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอน ความสําเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผู้เรียนบรรลุจุดหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ผลการดําเนินการ มีประสิทธิภาพหรือไม่ การออกแบบการเรียนการสอนตลอดกระบวนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตาม ขั้นตอนบ้าง เพื่อนําไปเป็นข้อมูลสําหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป เคมพ์ (Kemp. 1971 ) เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2. หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้ว การปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ทักษะ และการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3. การใช้วัสดุต่างๆ ง่ายต่อการจัดการสําหรับผู้เรียนจํานวนมากๆ หรือไม่
4. สิ่งอํานวยความสะดวก กําหนดการ และการนิเทศ มีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่ 5. มีการระวังรักษาการหยิบ การใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6. วัสดุต่างๆ ที่เคยใช้แล้ว ถูกนํามาใช้อีกหรือไม่
7. ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียน วิธีการสอน กิจกรรม และเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อ ผู้สอน และผู้เรียนคนอื่นๆ

การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็น ส่วนหนึ่งขอกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน ทั้งในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN Cooperation Initiative in Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้าง คุณภาพการศึกษาของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน (AUN Quality Assurance - AUN-QA) ที่ตระหนักถึงความสําคัญของประกันคุณภาพการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาและความจําเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐาน การศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network - AUN) ซึ่งระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (AUN Quality Assurance – AUN-QA) เป็นกลไกการ ประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนํามา
1ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA โดยมีเกณฑ์พิจารณา 11 หมวด ได้แก่
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2. ข้อกําหนดหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5. การประเมินผลนักศึกษา
6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9. สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10. การเพิ่มคุณภาพ
11. ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนําเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป
2. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวง กําหนด ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารการดําเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา :
2. แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4. แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจําปีของสถานศึกษา
7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่ การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดําเนินงาน เขียนแสดง ความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13

ภาพประกอบที่ 13 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มา (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545 : 3)







เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสู...